นโยบายของ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รรท.ผบ.ตร. ,พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รอง ผบ.ตร. , พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร. และ พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. ให้ปราบปรามกลุ่มเครือข่ายองค์กรอาชญากรรมทางออนไลน์ ที่กระทำความผิดทุกรูปแบบ ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนผู้สุจริตจำนวนมาก
เมื่อวันที่ 22 เม.ย.67 พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. , พล.ต.ต.วสันต์ เตชะอัครเกษม รอง ผบช.น. , พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. ได้สั่งการ พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. , พ.ต.อ.วรพจน์ รุ่งกระจ่าง , พ.ต.อ.นิวัตน์ พึ่งอุทัยศรี รอง ผบก สส.บช.น. , พ.ต.อ.จักราวุธ คล้ายนิล ผกก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สส.บช.น. ,พ.ต.ท.พัชรพงษ์ กาญจนวัฏศรี รอง ผกก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สส.บช.น. , พ.ต.ท.นิธิ ปิยะพันธุ์ รอง ผกก.วิเคราะห์ข่าวฯ ได้สั่งการให้ พ.ต.ท.ธีวร์ราธิป ชูดวง สว.กก.วิเคราะห์ฯ,ร.ต.อ.พีระเกียรติ ศิริฤทัยวัฒนา ร.ต.ท.ณรงณ์ศักดิ์ สนิทไทย ร.ต.ท ไพโรจน์ บุรีรักษ์ และเจ้าหน้าที่ กก.วิเคราะห์ข่าวฯ สืบนครบาล จับกุมนายสมเกียรติ อายุ 32 ปี ที่อยู่บ้านเลขที่ 9/10 ซ.แจ้งวัฒนะ 14 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานครหมายจับศาลอาญารัชดา ที่ 4306/2566 ลงวันที่ 22 พ.ย.66 ข้อหา “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่คอมพิวเตอร์โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน” โดยจับกุมได้ที่บริเวณ ถนนช่างแสง-วัดพระญาติ จ.พระนครศรีอยุธยา
ตรวจสอบในฐานระบบข้อมูล พบหมายจับอีก 5 หมาย ดังนี้
1.หมายจับศาลจังหวัดชลบุรี ที่ 403/2566 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของ ประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน,ฉ้อโกงประชาชน”
2.หมายจับศาลจังหวัดเชียงใหม่ ที่ 283/2566 ลงวันที่ 7 เมษายน 2566 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันในข้อหาฉ้อโกงประชาชน”
3.หมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ 769/2565 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันในข้อหาฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่น,ร่วมกันในข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม โดยน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน”
4.หมายจับศาลจังหวัดภูเก็ต ที่ 669/2565 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2565 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันในข้อหาฉ้อโกง,ร่วมกันในข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม โดยน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน”
5.หมายจับศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ 403/2565 ลงวันที่ 15 กันยายน 2565 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ผู้สนับสนุนในข้อหากระทำความผิดฐานฟอกเงิน”
พฤติการณ์กล่าวคือ แก๊งมิจฉาชีพได้เอาบัญชีของผู้ต้องหาไปหลอกผู้เสียหายเป็นจำนวนมาก ทั้งหลอกให้กู้ยืมออนไลน์แต่ให้ผู้เสียหายค่าธรรมเนียมในการทำสัญญา เมื่อโอนเงินค่าธรรมเนียมเสร็จก็ติดต่อไม่ได้ , หลอกว่ามีพัสดุมีชื่อผู้เสียหายและในพัสดุมียาเสพติดจากนั้นให้ผู้เสียหายโอนเงินบัญชีดังกล่าวไปตรวจสอบ ความเสียหายจำนวนหลายราย บางรายมีหลักหมื่น หลักแสน หลักล้าน แล้วแต่เคส
ในชั้นจับกุมผู้ต้องหาให้การรับว่า ได้กระทำความผิดจริงโดย ได้ขายบัญชีธนาคารต่างๆ แต่จำเลขบัญชีไม่ได้ ได้ขายไปให้นางชลดา (ซึ่งปัจจุบันถูกจับกุมไปแล้ว)ซึ่งเป็นเพื่อนของน้า โดยได้ขายไปในราคา บัญชีละ 1,500 บาท ร่วมเป็นเงิน 4,500 บาท จากนั้นได้ตัวผู้ต้องหานำส่ง พงส.สน.พญาไท เพื่อดำเนินคดีต่อไป
พล.ต.ต.ธีรเดช ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่สืบนครบาลสืบสวนติดตามคนร้ายที่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนผ่านการหลอกลวงมีหลายรูปแบบ แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ขอให้ประชาชนอย่าได้หลงเชื่อ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อผู้เสียหาย และสำหรับผู้ที่ขายบัญชีธนาคารนั้น ตาม พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ระบุว่า เจ้าของบัญชีม้า หรือเบอร์ม้า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แม้จะเป็นคดีที่มีความเสียหายไม่มาก แต่หากเป็นคดีที่ประชาชนเดือดร้อน เราทำทันที ตามนโยบายของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ