รวบร้านขายถ่านไม้ ไม่มีใบอนุญาตครอบครองของป่าหวงห้าม สต๊อกล้นกว่า 6 ตัน

ตํารวจสอบสวนกลาง (CIB) รวบร้านขายถ่านไม้ไร้ซึ่งใบอนุญาตครอบครองของป่าหวงห้าม สต๊อกล้น6 ตัน

กองบัญชาการตํารวจสอบสวนกลาง (CIB) โดยกองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิด เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) ภายใต้การอํานวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.วัชรินทร์ พูสิทธิ์ ผบก.ปทส., พ.ต.อ.อริยพล สินสอน รอง ผบก.ปทส. และ พ.ต.อ.ณัทกฤช น้อยคําปัน ผกก.4 บก.ปทส.

เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม โดย พ.ต.ต.หญิง ภิ์ษัชกร เลิศวิลัย สว.(สอบสวน) กก.4 บก.ปทส. พร้อม เจ้าหน้าที่ตํารวจ กก.4 บก.ปทส.

ร่วมกันจับกุม นางลมัยพรฯ โดยแจ้งข้อกล่าวหาตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 “มีไว้ใน ครอบครองซึ่งของป่าหวงห้าม (ถ่านไม้ทุกชนิด) เกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่” ซึ่งจะมีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ พร้อมของกลาง ถ่านไม้ทุกชนิดมากกว่า 6 ตัน (500 กระสอบ) สถานที่จับกุม ร้านขายถ่านไม้ริมถนนทางหลวงหมายเลข 1276 ต.ไผ่รอบ อ.เมือง จ.พิจิตร

พฤติการณ์ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตํารวจ ได้ตรวจสอบพบมีร้านขายถ่านไม้ใส่กระสอบวางขายอยู่เป็น จํานวนมากที่ริมถนนทางหลวง จึงได้สอบถามเจ้าของร้าน คือ นางลมัยพรฯ พบว่าไม่เคยขออนุญาตครอบครอง ของป่าหวงห้ามมาก่อน ตรวจสอบรอบบริเวณร้านมีถ่านสต๊อกอยู่มากกว่า 6 ตัน (500 กระสอบ) โดยที่นางลมัยพรฯ อ้างว่ารับซื้อมาเก็บไว้ใช้ในครัวเรือน และแบ่งขายตามโอกาส จึงไม่ได้ไปขออนุญาต เจ้าหน้าที่ตํารวจ จึงได้แจ้งให้ นางลมัยพรฯ ทราบว่า ถ่านไม้ทุกชนิด ถือเป็นของป่าหวงห้าม ตามพระราช กฤษฎีกา กําหนดของป่าหวงห้าม พ.ศ. 2530 ซึ่งการที่จะมีไว้ในครอบครองเพื่อใช้ในครัวเรือนจะต้องมีไม่เกิน 130 กิโลกรัมเท่านั้น ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯ ลงวันที่ 22 มกราคม 2531 หากเกินกว่านั้น ผู้ครอบครองจะต้องได้รับจากพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อน จึงจะสามารถครอบครองไว้เพื่อประกอบการค้าได้ จากนั้นจึงได้ทําการตรวจยึดถ่านไม้ รวมแล้วน้ําหนักกว่า 6,000 กิโลกรัม พร้อมกับนําตัวนางลมัยพรฯ ผู้ต้องหา รายนี้ นําส่งพนักงานสอบสวน สภ.โพธิ์ประทับช้าง ดําเนินคดี

ตํารวจสอบสวนกลาง (CIB) ขอประชาสัมพันธ์ ให้ทราบว่า การประกอบกิจการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การป่าไม้ และทรัพยากรธรรมขาติ ผู้ที่ประกอบกิจการต้องศึกษาข้อกฎหมายให้ดีก่อนที่จะกระทําการ เพราะ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นทรัพยากรอันมีค่าและควรหวงแหน รักษาเก็บไว้ให้ลูกหลานสืบไป และการประกอบกิจการ ทุกอย่างต้องขออนุญาตตามขั้นตอนให้ถูกต้อง ถึงแม้ว่าจะเป็นวิถีชาวบ้าน แต่หากวิถีนั้นขัดต่อกฎหมาย ย่อม ถูกดําเนินคดีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในที่สุดแล้วก็จะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้เช่นเดียวกัน ช่องทางการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม บก.ปทส. สายด่วน 1136 หรือ เพจ Facebook : บก.ปทส.Greencop – Thailand