กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปราม ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.มนตรี เทศขัน ผบก.ป., พ.ต.อ.บุญลือ ผดุงถิ่น รอง ผบก.ป., พ.ต.อ.ศราวุธ จันต๊ะวงค์ ผกก.2 บก.ป., พ.ต.ท.นฤทธิ์ ผูกจิตร, พ.ต.ท.นพรัตน์ คำมาก, พ.ต.ท.เนติวิทย์ ธนาสิทธิ์นิติกุล, พ.ต.ท.พลวุฒิ ผาตินุวัติ รอง ผกก.2 บก.ป.
เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม นำโดย พ.ต.ท.สรศักดิ์ แสงจันทร์ สว.กก.2 บก.ป., ร.ต.อ.ภูวดล เปรมปรีวรรณ รอง สว.กก.2 บก.ป., ร.ต.อ.นนทพัทธ์ กาวชู รอง.สว.(สอบสวน) กก.2 บก.ป. พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.2 บก.ป
ร่วมกันจับกุม นายสายชลฯ โดยกล่าวหาว่า “ ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ , ลักทรัพย์ในเวลากลางคืนฯ รับของโจร ” ตามหมายจับของศาลอาญากรุงเทพใต้ ที่ 297/2566 คดีหมายเลขดำที่ อ1175/2565 ลงวันที่ 19 กันยายน 2566 สถานที่จับกุม ริมถนนชนบท ในตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม
พฤติการณ์การ ก่อนการเกิดเหตุผู้เสียหายได้นั่งรถยนต์โดยสารแท็กซี่ ซึ่งนายสายชลฯ เป็นผู้ขับรถยนต์โดยสารแท็กซี่ โดยขึ้นจากบริเวณเซ็นทรัลเวิลด์ มาลงบริเวณที่คอนโดมิเนียม ย่านคลองเตย จากนั้นผู้เสียหายได้ลืมโทรศัพท์ไว้บนรถยนต์โดยสารแท็กซี่ และนายสายชลฯ ได้เก็บโทรศัพท์ของผู้เสียหายไว้แต่ไม่ส่งคืนผู้เสียหาย แต่กับเอาโทรศัพท์ดังกล่าวโอนเงินเข้าบัญชีของนายสายชลฯ ตนเอง และตระเวนกดเงินตามตู้ ATM ทั่วกรุงเทพ และปริมณฑล กว่า 30 แห่ง มูลค่าความเสียหายกว่า 800,000 บาท และผู้เสียหายได้เข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน สน.ทองหล่อ ต่อมา นายสายชลฯ ถูกจับกุมตัว และนำส่งศาลอาญาและได้ประกันตัวออกมา แล้วหลบหนีคดีมาโดยตลอด ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้สืบสวนและเฝ้าติดตามจนสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ ซึ่งผู้ต้องหาให้การรับสารภาพว่ากระทำผิดจริง ได้การก่อเหตุลักษณะนี้มาแล้วหลายครั้ง เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมได้นำผู้ต้องหาส่งศาลอาญา เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป