กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.วิวัฒน์ ชัยสังฆะ รอง ผบช.ก., พล.ต.ต.สุวัฒน์ แสงนุ่ม รอง ผบช.ก, พล.ต.ต.มนตรี เทศชัน ผบก.ป., พ.ต.อ.เอนก เตาสุภาพ รอง ผบกป., พ.ต.อ.พรศักดิ์ เลารุจิราลัย รอง ผบก.ป.พ.ต.อ.สุเทพ โตยิ้ม รอง ผบก.ป.,พ.ต.อ.บุญลือ ผดุงถิ่น รอง ผบก.ป., พ.ต.อ.วิวัฒน์ จิตโสภากุล ผกก.3 บก.ป.,พ.ต.ท.ภาณุมาศ แสงส่ง รอง ผกก.3 บก.ป., พ.ต.ท.สุริยศักดิ์ จิราวัสน์ รอง ผกก. 3 บก.ป.พ.ต.ท.พงศกร ตันอารีย์ รอง ผกก.3 บก.ป. และพ.ต.ท.สิทธิพร มีอาษา รอง ผกก.3 บก.ป.
เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม นำโดย พ.ต.ต.ณัฐดนัย สีแขตร สว.ฯ, พ.ต.ต.อาธิรัตน์ ทิพย์เจริญ สว.กก.๓ บก.ป.พ.ต.ต.ณรงค์ หาญสันเทียะ กก.4 บก.ป.,ร.ต.อ.ธีรศักดิ์ นามเขต รอง สว. กก.3 บก.ป. , ร.ต.อ.ณัฐพงศ์ วงศ์ศุภวัชร์ รอง สว.กก.3 บก.ป. ร.ต.อ.วิทญา สุทธิปัญโญกก.3 บก.ป.,ร.ต.ท.ปราโมทย์ เบ็ญจมาศ รอง สว.กก.4 บก.ป., ร.ต.ท.นิติธร ประชันกาญจนา รอง สว.กก.5 บก.ป.ร.ต.ต.ธีรเดช เขียวงาม รอง สว.(ป.) กก.3 บก.ป.,ร.ต.ต.วิชาญ จ้อยเสนา รอง สว. กก.3 บก.ป.
ร่วมกันจับกุมผู้ต้องหา
1.นายสมชาย หรือผู้กองเป็ดฯ อายุ 59 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับ ศาลอาญา ที่ จ.2581/2566 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2566 “ฉ้อโกง และฉ้อโกงประชาชน”
2.นายสุริยพันธ์ หรือผู้กองจอร์ทฯ อายุ 61 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับ ศาลอาญา ที่ จ.2582/2566 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2566 “ฉ้อโกง และฉ้อโกงประชาชน”
3.นายอัครวัฒน์ หรือเสธหนุ่มฯ อายุ 59 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับ ศาลอาญา ที่ จ.2583/2566 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2566 “ฉ้อโกง และฉ้อโกงประชาชน”
4.นายนิพนธ์ฯ อายุ 61 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับ ศาลอาญา ที่ จ.2587/2566 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2566 “ฉ้อโกง และฉ้อโกงประชาชน”
5.นายประสาร หรือเสธแดงฯ อายุ 65 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับ ศาลอาญา ที่ จ.2589/2566 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2566 “ฉ้อโกง และฉ้อโกงประชาชน” 2566 “ฉ้อโกง และฉ้อโกงประชาชน”
6.นางสาววราภรณ์ฯ อายุ 58 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับ ศาลอาญา ที่ จ.2586/2566 ลงวันที่ 7 สิงหาคม
7.นายสมศักดิ์ๆ อายุ 51 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับ ศาลอาญา ที่ จ.2588/2566 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2566 “ฉ้อโกง และฉ้อโกงประชาชน”
สถานที่จับกุม ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ จ.ชัยภูมิ, จ.มหาสารคาม, จ.ร้อยเอ็ด, จ.กาพสินธุ์, จ.เชียงใหม่, จ.ลำปาง, และ จ.สุพรรณบุรี
ตรวจยึดของกลาง
1. เอกสารโครงการรับเหมาก่อสร้างต่างๆ จำนวน 20 โครงการ เอกสารประมาณ 1,000 แผ่น
2. ตรวจยึดสมุดบัญชีธนาคารจำนวน 18 เล่ม
3. บัตรเอทีเอ็มจำนวน 3 ใบ
4. โทรศัพท์มือถือ จำนวน 4 เครื่อง
พฤติการณ์ ต้นปี 2564 กองบังคับการปราบปราม ได้รับเรื่องร้องเรียนจาก มูลนิธิชัยพัฒนา กรณีมีกลุ่มแอบอ้างมูลนิธิชัยพัฒนา ว่าได้จัดทำโครงการขุดลอกคลอง (โครงการแก้มลิง) ของมูลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 90 โครงการแล้วนำไปแสวงหาผลประโยชน์ กระทั่งกลุ่มผู้เสียหาย พบว่าโครงการดังกล่าวไม่มีอยู่จริง จึงขอยกเลิกสัญญาและขอเงินคืนกับกลุ่มขบวนการดังกล่าว เบี่ยงเรื่อยมากระทั่งกลุ่มดังกล่าวได้หลบหนีไปไม่สามารถติดต่อได้ โดยมีผู้ได้รับความเสียหายกว่า 20 ราย มูลค่าความเสียหายกว่า 1.5 ล้านบาท
พล.ต.ต.มนตรี เทศขัน ผบก.ป. จึงสั่งการให้ พ.ต.อ.วิวัฒน์ จิตโสภากุล ผกก.3 บก.ป. ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและหากพบความผิดให้รีบดำเนินคดีตามกฎหมายโดยทันทีสำหรับการดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นไปตามแนวโครงการพระราชดำริ โดยเน้นกิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ไม่ซ้ำซ้อนกับแผนงานของหน่วยงานอื่น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการพัฒนาอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนในด้านเศรษฐกิจ และสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้สามารถพึ่งพาตนเองได้พร้อมทั้งมีการส่งเสริมและประสานงานให้โครงการต่งๆ เกิดความสมบูรณ์และสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยเฉพาะในกรณีที่โครงการของรัฐถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของระเบียบต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ทันที
จากการสืบสวนทราบว่า เมื่อช่วงประมาณ มิ.ย. – ก.ค. 2564 กลุ่มผู้ต้องหา มีการอ้างตนเป็นบริษัทฯ(ของนายกิตติศักดิ์ฯ) รับเหมาก่อสร้าง เป็นตัวแทนจากมูลนิธิชัยฯ ได้เข้ามาชักชวนแนะนำโครงการขุดลอกหนองน้ำ ของมูลนิธิฯ ซึ่งเป็นโครงการที่มาช่วยเหลือประชาชนหรือผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยให้มีโอกาสได้รับงาน จากนั้นกลุ่มขบวนการได้แจ้งให้ประชาชน และผู้รับเหมาในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สนใจจะรับเหมาโครงการ ให้ไปฟังเงื่อนไขและคุณสมบัติของบริษัท ฯ ที่จะสามารถรับเหมางานได้ ซึ่งกลุ่มผู้ต้องหาได้มีการสร้างความน่าเชื่อถือโดยการหลอกใช้สถานที่ราชการเป็นสถานที่นัดประชุม ซึ่งในแต่ละครั้งที่มีการจัดประชุมจะมีคนที่สนใจเข้าร่วมประชุมประมาณ 50 – 60 คน ที่ผ่านมามีการนัดประชุมมาแล้วประมาณ 4 ครั้ง โดยในเนื้อหาการประชุม กลุ่มผู้ต้องหาจะอ้างว่าในแต่ละโครงการจะมีงบประมาณสนับสนุนเป็นเงินหลัก 100 -1,000 ล้านบาท หากใครสนใจเข้าร่วมโครงการจะต้องจ่ายเงินค่าซื้อแบบโครงการจากกลุ่มผู้ต้องหา เป็นค่าแบบโครงการจะเริ่มต้นที่ราคา 17,500 บาท ไปจนถึง 90,000 บาท ซึ่งราคาขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่และงบประมาณของโครงการที่จะได้รับ กระทั้งกลุ่มผู้เสียหายได้หลงเชื่อจ่ายเงินซื้อแบบโครงการและได้มีการร่วมทำสัญญาว่าจ้าง (MOU) กับกลุ่มผู้ต้องหา ซึ่งหลังจากที่ได้มีการโอนเงินค่าแบบโครงการให้กับกลุ่มขบวนการดังกล่าวแล้ว ก็ได้มีการหลอกให้ทำสัญญากิจการร่วมค้า (MOA กับบริษัทฯ ขายน้ำมันเชื้อเพลิง (ของนายเลิศพงษ์ฯ ต่ออีกทอดหนึ่ง ภายหลังจากการทำสัญญา MOU และ MOA แล้วปรากฎว่าไม่มีผู้เสียหายรายใดได้รับเหมางานแต่อย่างใด เมื่อทวงถามทางกลุ่มขบวนการดังกล่าวก็ได้เลื่อนนัดและบ่ายเบียงเรื่อยมา ทำให้ผู้เสียหายเชื่อว่าพวกตนถูกหลอกลวง จึงทำการตรวจสอบข้อมูลจากมูลนิธิฯ จนทราบว่าโครงการดังกล่าวไม่มีอยู่จริง จึงมาร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับกลุ่มผู้ต้องหาจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
จากการสืบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานพบผู้ร่วมกระทำผิดจำนวน 10 ราย มีการแบ่งหน้าที่กันทำโดยแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ 1 นายหน้า/ ผู้ชักชวนจำนวน 5 ราย ประกอบด้วย
1.นายสมชาย หรือผู้กองเป็ดฯ อายุ 59 ปี
2.นายสุริยพันธ์ หรือผู้กองจอร์ทฯ อายุ 61 ปี
3.นายอัครวัฒน์ หรือเสธหนุ่มฯ อายุ 59 ปี
4.นายนิพนธ์ฯ อายุ 61 ปี
5.นายประสาร หรือเสธแดงฯ อายุ 65 ปี
กลุ่มที่ 2 กลุ่มบริษัทหน้าม้า อ้างว่าเป็นบริษัทที่ได้รับงานจากมูลนิธิชัยพัฒนา จำนวน 5 ราย ประกอบด้วย
1. นายกิตติศักดิ์ฯ อายุ 58 ปี
2. นางสาวเมตตาฯ อายุ 53 ปี
3. นางสาววราภรณ์ฯ อายุ 58 ปี
4. นายสมศักดิ์ๆ อายุ 51 ปี
5. นายเลิศพงศ์ฯ 60 ปี (ถูกจับคดีเก่า ปัจจุบันอยู่ในเรือนจำ)
ต่อมาเมื่อวันที่ 7 ส.ค.66 พนักงานสอบสวนได้ขออนุมัติหมายจับต่อศาลอาญา ซึ่งศาลอาญาได้อนุมัติ
ออกหมายจับผู้ต้องหาทั้ง 10 ราย
กระทั่งเมื่อวันที่ 9 ส.ค.66 ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) นำกำลังเข้าตรวจค้นทั้งหมด 8 จุด ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ, เชียงใหม่, ลำปาง, สุพรรณบุรี, มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, กาพสินธุ์ จนกระทั่งสามารถจับกุมผู้ต้องหาในขบวนการดังกล่าวได้ทั้งสิ้น จำนวน 7 คน รวมถึงตรวจยืดพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องจำนวนหลายรายการ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ป จะได้นำตัวผู้ต้องหาพร้อมพยานหลักฐานทั้งหมดนำส่งพนักงานสอบสวน กก.3 บก.ป. เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
จากการตรวจสอบประวัติการกระทำความผิดของกลุ่มผู้ต้องหาทั้ง 10 ราย พบว่ามีประวัติกระทำความผิดจำนวน 3 ราย
1.นายกิตติศักดิ์ๆ พบมีประวัติทั้งสิ้น จำนวน 4 คดี
– ปี 2551 ถูกออกหมายจับข้อหาลักทรัพย์ในเคหสถาน, (สถานที่ราชการ) สภ.แม่อ้อ
– ปี 2553 ถูกออกหมายจับคดียักยอกทรัพย์ร่วมกันกับ น.ส.วราภรณ์ ฯ สภ.เมืองลำปาง
– ปี 2556 ถูกออกหมายจับคดีร่วมกันฉ้อโกงโดยหลอกขายสัมปทานเหมืองหิน ร่วมกันกับน.ส.วราภรณ์ ฯ สภ.เมืองลำปาง
– ปี 2557 ถูกออกหมายจับตาม พ.ร.บ.เช็คฯ สภ.สำโรงเหนือ
2.นางสาววราภรณ์ ฯ มีประวัติถูกนำเนินคดี จำนวน 2 คดี สถานะถอนประกาศสืบจับ
– ปี 2553 ถูกออกหมายจับคดียักยอกทรัพย์ร่วมกันกับ นายกิตติศักดิ์ ฯ สภ.เมืองลำปาง
– ปี 255 ถูกออกหมายจับคดีร่วมกันฉ้อโกงโดยหลอกขายสัมปทานเหมืองหิน ร่วมกันกับนายกิตติศักดิ์ฯ สภ.เมืองลำปาง
3.นายเลิศพงศ์ฯ พบมีประวัติถูกออกหมายจับทั้งสิ้น จำนวน 13 คดี
ถูกออกหมายจับตาม พ.ร.บ.เช็ค ฯ จำนวน 9 คดี
(ปี 2551 จำนวน 2 คดี ,ปี 2552 จำนวน 3 คดี, ปี 2554 จำนวน 2 คดี, ปี 2558 จำนวน 1 คดี, ปี 2560 จำนวน 1 คดี )
– พ.ร.บ. แรงงาน จำนวน 1 คดี (ปี 2558 ) สภ.แม่ปิง
ถูกออกหมายจับคดีฉ้อโกง จำนวน 3 คดี
ปี 2556 หลอกการขายแบบก่อสร้างเรือนจำ สภ.เมืองมหาสารคาม
ปี 2561 และ 2563 หลอกรับเหมาถมที่ และปรับหน้าดิน สน.บางนา
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ขอเตือนภัย นอกจากโครงการที่มีการแอบอ้างชื่อมูลนิธิชัยพัฒนาแล้วจากการตรวจค้นกลุ่มผู้ต้องหายังพบเอกสารโครงการรับเหมาก่อสร้างอื่น ๆ อีกหลายโครงการ จากการทำชื่อโครงการไปตรวจสอบข้อมูลข่าวเปิดเบื้องต้นพบว่าโครงการเหล่านี้เป็นโครงการของหน่วยงานภาครัฐ แต่กลุ่มผู้ต้องหาอาจนำเอาชื่อโครงการดังกล่าวมาแอบอ้างว่าบริษัทของตนได้รับสัมปทานและทำไปหลอกลวงประชาชน จึงขอฝากเตือนให้พี่น้องประชาชนอย่าได้หลงเชื่อขอให้ตรวจสอบที่มาของโครงการกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะร่วมลงทุนหรือหากมีประชาชนรายใดตกเป็นเหยื่อ ถูกกลุ่มผู้ต้องหานี้ หลอกลวงแล้ว สามารถเข้าแจ้งความร้องทุกข์ได้ที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) หรือสถานีตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุจากการสอบสวนเบื้องต้น ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา