ตร.เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อรู้เท่าทันภัยไซเบอร์ แนะ! ให้ความรู้ อัพเดท และเรียนรู้พฤติกรรมมิจฉาชีพ

วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน 2566 เวลา 13.00 น. พันตำรวจตรีพากฤต กฤตยพงษ์ นว.(สบ.2)ผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ , ร้อยตำรวจเอกพิชพงศ์ โสมกุล รองสารวัตรฝ่ายอำนวยการกองบินตำรวจ , ร้อยตำรวจเอกหญิงพิชญากร สุขทวี รองสารวัตรฝ่ายยุทธศาสตร์ กองบังคับการอำนวยการกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ได้เข้าเป็นวิทยากรให้ความรู้ในการอบรมในหัวข้อ ”สร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อรู้เท่าทันภัยไซเบอร์” ณ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เวลา 13.15 น. ศาสตราจารย์ ดร. นิศานาถ ไตรผล ผู้ช่วยคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย กล่าวเปิดโครงการ ต้อนรับผู้เข้าอบรมกว่า102 ท่าน ณ ห้อง M01/1 อาคารมหามกุฎ ชั้น M คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คุณ รุ่งระวี สุขชัย หัวหน้างานวิจัยและบริการวิชาการ , คุณ บงกช พุฒแก้ว เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์ หัวหน้าทีมจัดอบรม เล็งเห็นว่า การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันจำเป็นต้องระมัดระวังให้มากขึ้น เพราะภัยคุกคามจากการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศมักเกิดขึ้นจากพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้งานเป็นหลัก จึงควรเรียนรู้พฤติกรรมเสี่ยงที่อาจ ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพออนไลน์ ควรระลึกเสมอว่า ความปลอดภัยของข้อมูลจะเกิดขึ้นได้ ต้องเริ่มจากตัวเอง หาก ผู้ใช้งานรู้เท่าทันภัยที่จะเกิดขึ้น องค์กรก็จะมั่นคงปลอดภัย เครือข่ายองค์กรอื่นๆ ที่จะมาร่วมใช้งานระบบก็มั่นคง ปลอดภัย เกิดเป็นห่วงโซ่แห่งความมั่นคงปลอดภัย จากระดับเล็กไปสู่ระดับใหญ่ ไปถึงระดับชาติ ช่วยให้ประเทศ เกิดความมั่นคงปลอดภัยจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ในที่สุด ด้วยเหตุนี้การจัดอบรมจึงเกิดขึ้น และถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดีที่ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เข้ามาให้ความรู้ในครั้งนี้

ด้าน พันตำรวจตรีพากฤต กฤตยพงษ์ , ร้อยตำรวจเอกพิชพงศ์ โสมกุล,และ ร้อยตำรวจเอกหญิงพิชญากร สุขทวี ได้บรรยายให้ความรู้ พร้อมยกตัวอย่าง อาทิเช่น แชร์ลูกโซ่ , การคลิ๊กลิงค์ต่างๆที่แฝงมาในรูปแบบsms หรือ ลิงก์ในช่องทางอื่นๆ , การสแกนคิวอาร์โค้ชแบบไม่ระมัดระวัง , รูปแบบอาชกรรมออนไลน์ที่แฝงมาในลิงก์ข่าว , การหลอกทำงานผิดกฎหมายต่างประเทศ ฯลฯ สิ่งที่สำคัญของการรู้เท่าทันภัยอาชญากรรมออนไลน์ เพื่อลดช่องโหว่ ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของแก๊งมิจฉาชีพคือการสร้างเข้าใจและรู้ทันว่า มิจฉาชีพกำลังคิดวิธีใหม่ๆจากพฤติกรรมการใช้งานของเรา ฉนั้นอยากให้ ประชาชน ตระหนักและคิดไตร่ตรอง หาข้อมูลทุกครั้งก่อนที่จะกรอกข้อมูลต่างๆลงในช่องทางออนไลน์ เพื่อตัดตอนการก่อเหตุอาชกรรมออนไลน์ และไม่ให้ตนเองตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพเหล่านั้น

หากเกิดเหตุหรือตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมการออนไลน์แนะนำให้แจ้งความโดยด่วน ทั้งนี้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีช่องทางการแจ้งความออนไลน์ได้ที่หน้าเว็ปไซต์หลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ www.thaipoliceonlineดอทคอมหรือโทร 1441