ปฏิบัติการทลาย แก๊งบังโก้ ปล่อยเงินกู้นอกระบบ รวบนายทุนพร้อมพวกรวม 24 ราย พบเงินสะพัดในระบบกว่า 600 ล้านบาท
ในช่วงปี 2565 ได้มีผู้เสียหายมาแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน กก.5 บก.ปอศ. กรณีกู้เงินจากนายทุนเงินกู้นอกระบบชื่อ แก๊งบังโก้ มีพฤติการณ์เรียกดอกเบี้ยโหดสูงถึงร้อยละ 340 ต่อปี เป็นเหตุให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน จากกรณีดังกล่าว ศูนย์ป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปน.ตร.) นำโดย พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร./ผอ.ศปน.ตร., พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง ที่ปรึกษาพิเศษ ตร./รอง ผอ.ศปน.ตร. พล.ต.ท.สราวุฒิ การพานิช ผู้ช่วย ผบ.ตร./รอง ผอ.ศปน.ตร. ได้สั่งการให้ บช.ก. เร่งรัดปราบปรามกลุ่มเงินกู้นอกระบบที่เอารัดเอาเปรียบประชาชน เรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตรากว่าที่กฎหมายกำหนด และมีการสร้างความเดือดร้อนให้แก่ลูกหนี้ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. จึงได้มอบหมายให้ บก.ปอศ. โดย พล.ต.ต.พุฒิเดช บุญกระพือ ผบก.ปอศ. ดำเนินการสืบสวนหาเครือข่ายผู้กระทำความผิดดังกล่าวมาดำเนินคดีตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ กก.5 บก.ปอศ. ได้ดำเนินการสืบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน จนกระทั่งทราบว่ากลุ่มผู้กระทำผิดดังกล่าวเป็นเครือข่ายเงินกู้รายใหญ่ โดยมี นายเกียรติศักดิ์ หรือบังโก้ เป็นหัวหน้าแก๊งหรือนายทุน และมีเครือข่ายกระจายอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ เช่น กาญจนบุรี อุดรธานี ขอนแก่น กาญจนบุรี สุราษฎร์ธานี และสงขลา จึงได้รวบรวมพยานหลักฐานและขออนุมัติหมายจับกลุ่มเครือข่ายของบังโก้ทั้งหมด 14 ราย ต่อมาวันที่ 2 มิ.ย.66 พล.ต.ท.พนัญชัย ชื่นใจธรรม ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ตร./หัวหน้าชุดปฏิบัติการส่วนกลาง ศปน.ตร. พร้อมด้วยชุดปฏิบัติการ บก.ปอศ. สนธิกำลังกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ภ.3, ภ.4, ภ.7, ภ.8 และ ภ.9 จำนวนมากกว่า 100 นาย บุกทลายเครือข่าย “แก๊งบังโก้” โดยเข้าทำการปิดล้อมตรวจค้นเป้าหมายจำนวน 12 จุด ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี อุดรธานี ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี และ สงขลา ผลการดำเนินการสามารถจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับได้ทั้งหมด 24 ราย ประกอบด้วย
- น.ส.มลฤดี (สงวนนามสกุล) อายุ 38 ปี ตามหมายจับของศาลอาญาที่ 1694/2566 ลง 31 พ.ค.66
- นายวัชระ (สงวนนามสกุล) อายุ 38 ปี ตามหมายจับของศาลอาญาที่ 1695/2566 ลง 31 พ.ค.66
- นายวัชระ (สงวนนามสกุล) อายุ 25 ปี ตามหมายจับของศาลอาญาที่ 1696/2566 ลง 31 พ.ค.66
- นายทรงพล (สงวนนามสกุล) อายุ 29 ปี ตามหมายจับของศาลอาญาที่ 1697/2566 ลง 31 พ.ค.66
- นายกิตติศักดิ์ (สงวนนามสกุล) อายุ 32 ปี ตามหมายจับของศาลอาญาที่ 1698/2566ลง 31 พ.ค.66
- นายวัชรพล (สงวนนามสกุล) อายุ 26 ปี ตามหมายจับของศาลอาญาที่ 1701/2566 ลง 31 พ.ค.66
- นายธเนศ (สงวนนามสกุล) อายุ 25 ปี ตามหมายจับของศาลอาญาที่ 1703/2566 ลง 31 พ.ค.66
- นายคมกฤษ (สงวนนามสกุล) อายุ 28 ปี ตามหมายจับของศาลอาญาที่ 1704/2566 ลง 31 พ.ค.66
- นายวุฒิพงษ์ (สงวนนามสกุล) อายุ 24 ปี ตามหมายจับของศาลอาญาที่ 1705/2566 ลง 31 พ.ค.66
- นายธัชพล แก่นสาร อายุ 38 ปี ตามหมายจับของศาลอาญาที่ 1706/2566 ลง 31 พ.ค.66
- นายชำนาญ (สงวนนามสกุล) อายุ 28 ปี
- นายอธิเดช (สงวนนามสกุล) อายุ 28 ปี
- นายมงคล (สงวนนามสกุล) อายุ 40 ปี
- นายอำนวย (สงวนนามสกุล) อายุ 25 ปี
- นายบุญฤทธิ์ (สงวนนามสกุล) อายุ 24 ปี
- นายสมนึก (สงวนนามสกุล) อายุ 42 ปี
- นายนนที (สงวนนามสกุล) อายุ 25 ปี
- นายวีระพงษ์ (สงวนนามสกุล) อายุ 18 ปี
- นายพีรพัฒน์ (สงวนนามสกุล) อายุ 23 ปี
- นายนฤดม (สงวนนามสกุล) อายุ 26 ปี
- นายอดิรักษ์ (สงวนนามสกุล) อายุ 34 ปี
- นายวรเมธ (สงวนนามสกุล) อายุ 23 ปี
- นายศุภชาติ (สงวนนามสกุล) อายุ 25 ปี
- นายปาณชัย (สงวนนามสกุล) อายุ 23 ปี
โดยผู้ต้องหาที่ 1-10 กล่าวหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต และร่วมกันเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด” และผู้ต้องหา 11-24 กล่าวหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต”
จากการสืบสวนพบว่ากลุ่มผู้กระทำความผิดมีพฤติการณ์ในการเดินทางเข้าไปตามแหล่งชุมชนต่างๆ ตลาดนัด หรือร้านค้าและทิ้งนามบัตรในการติดต่อของกู้เงิน เพื่อชักชวนให้ผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและประชาชนทั่วไปที่ขาดสภาพคล่องทางการเงิน และไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนถูกกฎหมายได้ โดยมีการเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่ากฎหมายกำหนดถึงร้อยละ 340 ต่อปี เมื่อตรวจสอบเส้นทางการเงินของกลุ่มผู้กระทำความผิด พบว่ามีเงินหมุนเวียนในบัญชีช่วงระยะเวลา 2 ปี มากกว่า 600 ล้านบาท อีกทั้งกลุ่มผู้กระทำความผิดมีการโพสต์ข้อความผ่านทางเพจเฟซบุ๊กในการชักชวนผู้อื่นเข้าร่วมขบวนการอย่างไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย
พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร./ผอ.ศปน.ตร. กล่าวว่า ในวันนี้ ศปน.ตร. มีหน้าที่ในการปราบปรามแก๊งเงินกู้นอกระบบ ซึ่งปัจจุบันมีการกระทำผิดในหลายรูปแบบ ปฏิบัติการครั้งนี้เป็นการทลาย แก๊งบังโก้ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมผู้ต้องหาที่เกี่ยวข้องรวมทั้งนายทุนที่อยู่เบื้องหลังกลุ่มดังกล่าว พร้อมของกลางหลายรายการ ซึ่งจากนี้จะสั่งการให้ตรวจสอบทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เพื่อตัดท่อน้ำเลี้ยงของกลุ่มผู้กระทำผิดให้สิ้นซาก หากพี่น้องประชาชนคนใดได้รับความเดือดร้อนจากแก๊งเงินกู้ หรือ มีเบาะแสที่เป็นประโยชน์ สามารถแจ้งได้ที่ช่องทาง 1599 หรือ สามารถแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ได้เช่นกัน
สุดท้ายนี้ ศูนย์ป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับหนี้นอกระบบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอฝากเตือนภัยถึงประชาชน อย่าหลงเชื่อในการกู้เงินจากแหล่งเงินกู้นอกระบบ ซึ่งไม่มีความน่าเชื่อถือและไม่ได้รับอนุญาต รวมทั้งยังเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด หากต้องการตรวจสอบแหล่งเงินกู้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย สามารถตรวจสอบใบอนุญาตการปล่อยสินเชื่อได้ที่ช่องทางดังต่อไปนี้
- ธนาคารแห่งประเทศไทย เว็บไซต์ https://www.bot.or.th/app/BotLicenseCheck
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เว็บไซต์ http://www.1359.go.th/picodoc/comp.php
ช่องทางการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม พ.ต.ต.วรวุฒิ คงรักษา สว.กก.5 บก.ปอศ. โทร 082-481-8813 “ผู้ต้องหาหรือจำเลยยังเป็นผู้บริสุทธิ์ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด” ศูนย์ป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
“สายด่วน 1599”