ผบ.ตร. ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง ก.ตร. ตาม พ.ร.บ.ตำรวจใหม่ บรรยายกาศเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ผบ.ตร. ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง ก.ตร. ตาม พ.ร.บ.ตำรวจใหม่ นับเป็นครั้งแรกของตำรวจ โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งระดับ รอง ผกก.ขึ้นไป บรรยายกาศภาพรวมทั่วประเทศ คึกคัก เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

วันนี้ (15 มี.ค.66 ) ณ สโมสรตำรวจ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. เดินทางมาเลือกตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ มาทำหน้าที่คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ตร. ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 พร้อมข้าราชการตำรวจที่มีสิทธิเลือกตั้ง โดยมีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และเจ้าหน้าประจำหน่วยเลือกตั้ง คอยควบคุมการเลือกตั้ง

ทั้งนี้การเลือกตั้ง ก.ตร. ครั้งแรกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.ตำรวจฉบับใหม่ กำหนดวันเลือกตั้งพร้อมกัน คือในวันนี้ (15 มี.ค.66) เวลา 08.30-16.30 น. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดให้ ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ตามต่างจังหวัดให้เลือก ณ สถานที่ประจำจังหวัดนั้นๆ ที่กกต.กำหนด ส่วนตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ใน กทม. หรือส่วนกลาง ใช้สโมสรตำรวจ โดยบรรยายกาศการเลือกตั้ง ก.ตร.ของข้าราชการตำรวจเป็นไปด้วยคึกคัก ตำรวจต่างตื่นตัวมาใช้สิทธิเลือกตั้ง ทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง จะเป็นข้าราชการตำรวจตั้งแต่รอง ผกก. หรือเทียบเท่าขึ้นไปมีประมาณ 13,000 กว่าคน กำหนดให้ 1 บัตร เลือกได้ไม่เกิน 6 คน แบ่งเป็นเลือกผู้สมัครผู้ทรงวุฒิประเภท (ก) ได้ไม่เกิน 3 คน และ เลือกผู้สมัครผู้ทรงวุฒิประเภท (ข) ได้ไม่เกิน 3 คน สำหรับผู้สมัครผู้ทรงวุฒิประเภท (ก) คุณสมบัติ ต้องเคยเป็นข้าราชการตำรวจระดับ ผบช.ขึ้นไป และพ้นจากความเป็นข้าราชการตำรวจเกิน 1 ปี มีผู้สมัคร 23 คน ต้องเลือกให้เหลือ 3 คนประเภท ข. ผู้ได้รับการเสนอชื่อ 6 คน เลือกได้ 3 คน

โครงสร้าง “ก.ตร.” มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน, ผบ.ตร. รองประธาน, กรรมการประกอบด้วย เลขาธิการ ก.พ., เลขาธิการ ก.พ.ร., รอง ผบ.ตร. 5 คน (ตามลำดับอาวุโส), จเรตำรวจแห่งชาติ, ผู้ทรงวุฒิประเภท ก. 3 คน และ ข. 3 คน โดยมี ผบช.สง.ก.ตร. เป็นเลขานุการ รองผบช.สง.ก.ตร. เป็นผู้ช่วยเลขานุการผู้ทรงคุณวุฒิประเภท (ก) ตามกฎหมายมีได้ 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิประเภท (ข) 3 คน วาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี เพียงวาระเดียว มาจากการเลือกตั้ง