ตามนโยบายของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร./ผอ.ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี PCT ให้ปราบปรามกลุ่มเครือข่ายองค์กรอาชญากรรมที่กระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบซึ่งสร้างความเดือนร้อนให้กับประชาชนผู้สุจริตจำนวนมาก โดยชุดลาดตระเวนออนไลน์ บก.สส.บช.น. ได้ออกลาดตระเวนออนไลน์พบคนร้ายเปิดบัญชีธนาคารและขายบัญชีธนาคารต่อให้กลุ่มแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยจะนำบัญชีม้าที่หาซื้อมาได้มาใช้ในรูปแบบเป็นบริษัทสินเชื่อหลอกให้กู้ยืมเงิน โดยจะอ้างกับผู้เสียหายว่า ต้องทำการโอนค่าธรรมเนียม ค่าค้ำประกัน และค่าดำเนินการอื่นๆ เข้ามาก่อน ซึ่งอาศัยความเดือนร้อนของประชาชนเป็นช่องว่างในการหลอกลวง และยังมีการหลอกลวงในรูปแบบลงทุนออนไลน์ โดยเสนอให้ผลตอบแทนในอัตราที่สูง ซึ่งเป็นการจูงใจให้ผู้จะมาลงทุน มูลค่าความเสียหาย 1 ล้านบาท
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2566 เวลาประมาณ 15.15น. พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. , พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. / หัวหน้าชุด PCT ชุดปฏิบัติการ 5 ,พ.ต.อ.เกียรติศักดิ์ สระทองออย รอง ผบก.สส.บช.น., พ.ต.อ.วรพจน์ รุ่งกระจ่าง รอง ผบก.สส.บช.น. พ.ต.อ.สมบูรณ์ สุขศรีดาวเดือน ผกก.สส.3 บก.สส.บช.น., พ.ต.ท.ปกรณ์ ทองช่วง รอง ผกก.สส.3 บก.สส.บช.น. , พ.ต.ท.วิโรฒ จนุบุษย์ รอง ผกก.สส.3 บก.สส.บช.น. ได้สั่งการให้ พ.ต.ท.นิธิ ปิยะพันธุ์ สว.กก.สส.3 บก.สส.บช.น. , ร.ต.อ.ธนิตศักดิ์ สัจจะวีระชัย รอง สว.(สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน บก.สส.บช.น. , ร.ต.อ.ปณวัฒน์ จอกสุวรรณ์ รอง สว.กก.สส.3 บก.สส.บช.น. ทำการจับกุมตัว น.ส.แก้วใจ หรือหมวย อายุ 48 ปี อยู่ที่ 348/3 หมู่ 3 ซอยสุขสวัสดิ์ 2 แขวงจอมทอง เขตจอมทอง กทม. ผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลอาญา ที่ 2919/2565 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2565
โดยกล่าวหาว่ากระทำผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น และโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง ,ร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน” นำส่งพนักงานสอบสวน สน.สายไหม ดำเนินคดีตามกฎหมาย
จับกุมได้ที่ บริเวณหน้าบ้านไม่มีเลขที่ ในซอยสุขสวัสดิ์ 1 แยก 10 แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร
พฤติการณ์คือ ผู้ต้องหาได้เปิดบัญชีธนาคารและขายบัญชีธนาคารต่อให้กลุ่มแก๊งคอลเซ็นเตอร์
โดยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ จะนำบัญชีม้าที่หาซื้อมาได้มาใช้ในรูปแบบ เป็นบริษัทสินเชื่อหลอกให้กู้ยืมเงิน โดยจะอ้างกับผู้เสียหายว่า ต้องทำการโอนค่าธรรมเนียม ค่าค้ำประกัน และค่าดำเนินการอื่นๆ เข้ามาก่อน ซึ่งอาศัยความเดือนร้อนของประชาชนเป็นช่องว่างในการหลอกลวง และยังมีการหลอกลวงในรูปแบบลงทุนออนไลน์ โดยเสนอให้ผลตอบแทนในอัตราที่สูง ซึ่งเป็นการจูงใจให้ผู้จะมาลงทุนอยากที่จะเข้ามาลงทุนที่ไม่ได้ทำการศึกษาในการลงทุนมาก่อน จากนั้น เมื่อผู้เสียหายโอนเงินเข้ามาแล้ว ก็จะปิดบัญชีหนี สร้างความเสียหายให้กับประชาชนมูลค่าความเสียหายรวมกว่า 1 ล้านบาท ทั้งนี้ ในชั้นจับกุมผู้ต้องหาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
จากการตรวจสอบประวัติการกระทำความผิด พบว่าผู้ต้องหากระทำความผิดในลักษณะเดียวกันนี้ อีก 4 คดี และมีหมายจับอื่นๆ อีก คือ
1.หมายจับศาลแขวงพิษณุโลก ที่ จ.233/2565 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 ซึ่งกระทำผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกง และฐานร่วมกันหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ” (สภ.เมืองพิษณุโลก)
2.หมายจับศาลจังหวัดลพบุรี ที่ จ.49/2566 ลงวันที่ 3 มีนาคม 2566 ซึ่งกระทำความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นคนอื่น และร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมหรือไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน” (สภ.พัฒนานิคม จว.ลพบุรี)
3.หมายจับศาลแขวงเชียงดาว ที่ 51/2565 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2565 ซึ่งกระทำความผิดฐาน “ฉ้อโกง, นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน” (สภ.ป่าแป๋ จว.เชียงใหม่)
4.หมายจับศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ จ.158/2565 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2565 ซึ่งกระทำความผิดฐาน “ฉ้อโกง และโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด” (สภ.คลองวาฬ จว.ประจวบคีรีขันธ์)
นำตัวผู้ต้องหาส่ง พนักงานสอบสวน สน.สายไหม เพื่อดำเนินคดีตามกฏหมายต่อไป
พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล เปิดเผยว่า นโยบายของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ให้จัดชุดลาดตระเวนออนไลน์สืบสวนติดตามคนร้ายที่เป็นภัยออนไลน์ สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนเป็นจำนวนมาก และยังก่อเหตุต่อเนื่อง จึงฝากเตือนไปยังประชาชนอย่าหลงเชื่อการหลอกลวงโดยอ้างเป็นหน่วยงานเอกชน หรือเป็นบุคคลอื่น ๆ รวมถึงการหลอกให้ลงทุนหรือก็ยืมเงินในรูปแบบต่างๆ เพื่อหลอกให้ประชาชนหลงเชื่อ และทำการโอนเงินไปยังบัญชีคนร้าย ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนได้