กองบังคับการปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. ได้สั่งการให้ พล.ต.ต.สุวัฒน์ แสงนุ่ม รอง ผบช.ก. พล.ต.ต.สันติ ชัยนิรามัย รอง ผบช.ก., พล.ต.ต.มนตรี เทศขัน ผบก.ป., พ.ต.อ.สรร มั่นเมืองรยา รอง ผบก.ป., พ.ต.อ.พรศักดิ์ เลารุจิราลัย รอง ผบก.ป., พ.ต.อ.วิระชาญ ขุนไชยแก้ว ผกก.5 บก.ป., พ.ต.ท.ธนวัฒน์ หินยกซิ่น, พ.ต.ท.ปริช ชาทิพย์พาที พ.ต.ท.หัตถพร ทองคำ, พ.ต.ท.ฤทธิชัย ชุมช่วย รอง ผกก.5 บก.ป. เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม นำโดย พ.ต.ต.สุขสิทธิ์ ประเสริฐ สว.กก.5 บก.ป. พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดปฏิบัติการที่ 3 กองกำกับการ5 กองบังคับการปราบปราม ร่วมกันจับกุม นายสิทธิ์ อายุ 55 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาตลิ่งชัน ที่ จ.409/2555 ลงวันที่ 8 ก.ย.65 โดยกล่าวหาว่า “ร่วมกันฉ้อโกง ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ร่วมกันโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่ง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความ เสียหาย แก่ประชาชนฯ”
จับกุมได้ที่ บริเวณโรงแรมแห่งหนึ่ง ซ.ลาดพร้าว 122 แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ พฤติการณ์ขณะเกิดเหตุ เมื่อประมาณปลายเดือนกรกฎาคม 2564 ผู้เสียหายได้รับข้อมูลจากญาติ คนรู้จักที่เป็น สมาชิกโครงการร้านสะดวกซื้อ สมาร์ทพลัส ศูนย์จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งมีนายสิทธวีย์ฯ เป็นผู้บริหารและเป็นผู้ประชาสัมพันธ์เชิญ ชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมลงทุนในโครงการฯ โดยได้แนะนำข้อมูลในการร่วมลงทุนในโครงการฯ ซึ่งให้ผลตอบแทนสูง จึงมีความ สนใจประสงค์จะสมัครเป็นสมาชิกในโครงการ โดยวิธีการลงทุนจะต้องทำโปรโมท โฆษณาประชาสัมพันธ์โครงการ และสินค้า ในโครงการ
ซึ่งจะมีค่าจ้าง ค่าตอบแทนให้ กล่าวคือ เมื่อซื้อสินค้า 1 ชิ้นในราคา 1,200 บาท ครบ 7 วัน ผู้ซื้อจะได้รับเงินคืน จากโครงการ เป็นเงินจำนวน 1,500 บาท (ได้กำไร 300 บาทต่อสินค้า 1 ชิ้น) ซึ่งเป็นทางโครงการอ้างว่าเป็นเงินค่าโปรโมท สินค้า และให้เชิญชวนหาลูกค้ามาร่วมโครงการก็จะได้ผลตอบแทนมากยิ่งขึ้น โดยในช่วงแรกของการลงทุนผู้เสียหายได้รับเงิน ตอบแทนตามจำนวนที่โครงการแนะนำ โดยผู้เสียหายเชื่อว่าจะได้รับค่าโปรโมทสินค้าจากโครงการตามที่เคยได้รับมา จึงเพิ่ม ยอดเงินการลงทุนในการสั่งซื้อสินค้า รวมเป็นจำนวนเงินกว่า 4,188,000 บาท ซึ่งผู้เสียหายได้รับเงินคืนเป็นค่าตอบแทนจาก การลงทุนครั้งแรก เป็นเงินจำนวน 600,000 บาท หลังจากนั้นยังไม่ได้รับเงินตอบแทนคืนอีกเลย รวมทั้งยังไม่ได้รับเงินค่าสั่งซื้อ สินค้าที่ลงทุนไป จึงไปแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจรถไฟธนบุรี
ต่อมาพนักงานสอบสวนได้ รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อขออนุมัติหมายจับผู้ต้องหาคนดังกล่าว ซึ่งจากการสืบสวนขยายผลเพิ่มเติม ทราบว่า นายสิทธวี ฯ ผู้ต้องหา ได้แยกตัวจากบริษัท สมาร์ทพลัส เนื่องจากมี ความขัดแย้งกับผู้บริหารในบริษัทสมาร์ทพลัส มาตั้งบริษัทซุปเปอร์เค 2999 โดยนายสิทธวีย์ฯ ตั้งตนเองเป็นผู้บริหาร มี โครงการในบริษัททั้งสิ้นรวม 5 โครงการ เชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการต่างๆ เมื่อประมาณกลางปี 2564 อาทิเช่น
1. โครงการศูนย์กระจายสินค้า คือ ผู้สนใจจะเปิดร้านค้าสะดวกซื้อ
2. โครงการตลาดนัด คือ เจ้าของสินค้านำมาขายในแพลทฟอร์ม
3. โครงการแพลทฟอร์ม คือ การสร้างแอปพลิเคชั่น ฮัก เอสเค
4. โครงการมาเก็ตติ้ง คือ ซื้อสินค้าแล้วได้สินค้าและเงินค่าโปรโมทประชาสัมพันธ์
5. โครงการครอบครัวซุปเปอร์เค คือ ให้สมาชิกบริจาคเงินมาเป็นกองทุนสวัสดิการ โดยมีพฤติการณ์การหลอกลวง โดยการตั้งกลุ่มไลน์ชักชวนให้ผู้เสียหายซื้อสินค้าแล้วได้ค่าโปรโมทสินค้า เช่น ซื้อสินค้า 1 ชิ้น ราคา 1,200 บาท อีก 7 วัน ผู้ซื้อสินค้าจะได้รับเงินตอบแทน 1,500 บาท ซึ่งเป็นพฤติการณ์เดียวกันกับบริษัท สมาร์ทพลัส ในช่วงแรกที่ผู้เสียหายซื้อสินค้าจากบริษัทซุปเปอร์เค 2099 จะได้รับค่าโปรโมทสินค้า ครบถ้วนตามที่ตกลง ทำให้ ผู้เสียหายหลงเชื่อ เพิ่มยอดการสั่งซื้อสินค้าจากหลักพัน จนถึงหลักแสนบาท เพื่อหวังได้ค่าโปรโมทสินค้าจากบริษัท ปรากฏว่า ในช่วงหลังของการสั่งซื้อสินค้าทางบริษัทหยุดจ่ายเงินค่าโปรโมทสินค้าตามที่เคยตกลงกันไว้ จนทำให้มีผู้เสียหายจากการสั่งซื้อ สินค้าและการเข้าร่วมลงทุนกับบริษัท
จากโครงการทั้ง 5 โครงการข้างต้น มีประชาชนหลงเชื่อเข้าร่วมโครงการ เป็นจำนวนกว่า 5,000 คน และมีมูลค่าความเสียหายประมาณ 500 ล้านบาท ต่อมาเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2565 เวลาประมาณ 20.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.5 บก.ป. ได้ร่วมกันจับกุมตัวผู้ต้องหา ดังกล่าว ได้ที่ บริเวณโรงแรมแห่งหนึ่ง ซ.ลาดพร้าว 122 แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ นำส่งพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป สอบถามคำให้การผู้ต้องหาเบื้องต้น ให้การปฏิเสธว่าตนเองไม่ได้เจตนาโกง แต่เนื่องจากการเงินหมุนเงินให้ลูกค้า ไม่ทันจึงหยุดจ่ายเงินให้ลูกค้าตามที่ตกลง เตือนภัยสังคม การลงทุนในลักษณะแชร์ลูกโซ่มีความเสี่ยงต่อการลงทุน อาจถูกฉ้อโกงเสียทรัพย์สินจำนวนมากโดย ผู้ต้องหาใช้ผลตอบแทนสูงมาเป็นเหยื่อล่อ