บช.ก.แถลงจับกุม เครือข่ายผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารปลอม

วันที่ 27 กันยายน 2565 กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โดย พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก.,พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย รอง ผบช.ก., พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.ธรากร เลิศพรเจริญ รอง ผบก.ปอท. รรท.รอง ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.เนติ วงษ์กุหลาบ ผกก.4 บก.ปคบ, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาโดย นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรมการอาหารและยา, นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรมการอาหารและยา ร่วมกันแถลงผลการปฏิบัติงานกรณีการจับกุมเครือข่ายผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผสมวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 (2-ไดเฟนิลเมทิลโพโรลิตีน) โดยตรวจยึดของกลาง 20 รายการ ตรวจค้น 7 จุด จับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับ 3 ราย

สืบเนื่องจาก กก.4 บก.ปคบ. ได้ตรวจสอบการโฆษณาประกาศขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร “ชาร์มาร์ กลูต้า”ที่จำหน่ายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เช่น เฟชบุ๊ก (Facebook), ติ๊กต็อก (Tiktok) และไลน์ (Line) โดยโฆษณาชวนเชื่อว่า “ปลอดภัยไม่ผิดกฎหมายและไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เมื่อนำผลิตภัณฑ์ส่งไปตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบวัตถุออกฤทธิ์ 2-ไดเฟนิลเมทิลไพโรลิดีน (desoxy-D2PM) ซึ่งจัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเกท 1 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด จึงทำการสืบสวนจนทราบถึงกลุ่มผู้ผลิต สถานที่ผลิต และสถานที่จัดจำหน่าย โดยจากการสีบสวนทราบว่า สิรินดา คอสเมติกส์ เป็นโรงงานที่ผลิตลิตภัณฑ์ดังกล่าว โดยมีบริษัท ชาร์มาร์เพอร์เฟค จำกัด เป็นผู้ว่าจ้างให้ผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารฯ ผสมวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 (2-ไดเฟนิลเมทิลไพโรลิดีน) แล้วมาว่าจ้างนายอนิวัต (สงวนนามสกุล) หรือ นารา เป็นอินฟลูเอนเซอร์หลักในการโฆษณาและขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยมีนายเมธากร (สงวนนามสกุล) เป็นเจ้าของบัญชีธนาคารที่รับโอนชำระค่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งเกี่ยวข้องเป็นเครือญาติกับ นางนิชกานต์(สงวนนามสกุล) เจ้าของบริษัท ชาร์มาร์ จากการตรวจสอบพบว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องไมได้รับอนุญาตให้นำเข้า ผลิต จำหน่าย วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 (2-ไดเฟนิลเมทิลไพโรลิดีน) แต่อย่างใด

จึงรวบรวมพยานหลักฐานขอศาลอนุมัติหมายจับ 1.นายเมธากร (สงวนนามสกุล), 2. นายอนิวัต (สงวนนามสกุล) และ 3. นางสาวนิชกานต์ (สงวนนามสกุล) ในข้อหา “ร่วมกันจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 (2-ไดเฟนิลเมทิลโพโรลิดีน) โดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการกระทำทางการค้า”และต่อมาวันที่ 20 กันยายน 2565 ได้ทำการตรวจค้น สถานที่ผลิต จัดเก็บและจำหน่าย รวม 7 จุดในพื้นที่จังหวัดราชบุรี จำนวน 3 จุด, จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 2 จุด และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 1 จุด

รายละเอียดดังนี้

1. สิรินดา คอสเมติกส์ บ้านเลขที่ 62 หมู่ 4 ตำบลบัวงาม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ผลิตและเก็บผลิตภัณฑ์ ชาร์มาร์ กลูต้า พบอุปกรณ์ในการผลิต และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 จำนวน 4 รายการ

2. โกดังเก็บของ (ไม่ทราบเลขที่) หมู่ 4 ตำบลบัวงาม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี พบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 จำนวน 3 รายการ

3. บริษัท เอสแอล อินเตอร์แลบ จำกัด ที่ตั้ง 133/1 หมู่ 2 ตำบลบ้านไร่ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เป็นบริษัทในเครือเดียวกันกับ สิรินดา คอสเมติกส์ พบอุปกรณ์ในการผลิต และพบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 จำนวน 5 รายการ

4. บริษัท ชาร์มาร์เพอร์เฟค จำกัด 129 หมู่ 9 ตำบลหนองบัว อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัด มหาสารคามพบนายเมธากร (สงวนนามสกุล) ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ที่ 536/2565 ลงวันที่ 13 กันยายน 2565 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 (2-ไดเฟนิลเมทิลไพโรลิดีน)โดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการกระทำทางการค้า ” และพบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 จำนวน 2 รายการ และ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558จำนวน 2 รายการ

5. บ้านเลขที่ 113 หมู่ 9 ตำบลหนองบัว อำเภอพยัคมภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม พบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 จำนวน 1 รายการ

6. บ้านเลขที่ 15 หมู่ 11 ชอย 27 ตำบลบ้านกรด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พบ นายอนิวัต (สงวนนามสกุล) ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ที่ 538/2565 ลงวันที่ 13 กันยายน 2565ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 (2-ไดเฟนิลเมทิลไพโรลิดีน) โดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการกระทำทางการค้า ” และพบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 จำนวน 3 รายการ

7. บริเวณทางเดินหน้าโรงแรมแบงค็อก แมริออท เดอะ สุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ พบ น.ส.นิชกานต์ (สงวนนามสกุล) ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ที่ 537/2565 ลงวันที่ 13 กันยายน 2565 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 (2-ไดเฟนิลเมทิลไพโรลิดีน)โดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการกระทำทางการค้า”รวมตรวจค้น 7 จุด จับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับ 3 ราย ตรวจยึดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 จำนวน 18 ร้ายการ และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 จำนวน 2 รายการ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงร่วมกันจับกุมผู้ต้องหาพร้อมของกลางส่งพนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ.ดำเนินคดีในข้อหา “ร่วมกันจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 (2-ไดเฟนิลเมหิลโพโรลิดีน) โดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการกระทำทางการค้า”ในส่วนบริษัทสิรินดา คอสเมติกส์ และบริษัท เอสแอล อินเตอร์แลบ จำกัด เป็นบริษัทในเครือเดียวกัน

เบื้องต้นพนักงานสอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีกับทั้งสองบริษัทต่อไป การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 มาตรา 31, 149 วรรคสอง ประกอบมาตรา 83 เรื่อง วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 (ลำดับที่ 15) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 พ.ศ. 2565 ฐาน “ร่วมกันจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 เพื่อการค้า” ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาท ถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาท

นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า 2 ไดเฟนนิลเมทิลไพโรลิดีน (2-diphenylmethy!pyrrolidine หรือ desoxy-D2PM) จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 ซึ่งช่วงหลังมักถูกตรวจพบว่ามีโรงงานผู้ผลิตลักลอบนำมาใส่ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพิ่มมากขึ้นเหมือนไชบูทรามีนซึ่งทั้ง 2 ตัวจัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 โดยกำหนดห้ามให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ เว้นแต่ได้รับอนุญาต อันเป็นการฝ่าผืนมาตรา 94 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มีโทษตามมาตรา 149 (1) จำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท โดยผู้อนุญาตจะพิจารณาออกใบอนุญาตผลิต ขาย นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 ได้ปรากฏว่าผู้ขออนุญเป็นหน่วยนของรัฐที่ป็นนิติบุคคลหรือสภากาชาไทย และมีความประสงค์ที่ผลิต ขาย นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 เพื่อประโยชน์ของทางราชการอย่างหนึ่งอย่างใด แต่หากเพื่อการค้าฝ่าฝืน 149 วรรคสอง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 – 15 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 – 1,500,000 บาท

ซึ่งอันตรายจากการใช้ D2PM นี้จะมีอาการประสาทหลอน หวาดระแวง หรือมีพฤติกรรมรุนแรงม่านตาขยาย และเกิดภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติได้ ส่วนชบูทรามีน จะมีอาการตั้งแต่ท้องผูก ปากแห้ง นอนไม่หลับคลื่นไส้ หลอดเลือดขยาย ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น สับสน อ่อนแรง ปวดหัว โดยอุบัติการณ์การเกิดแตกต่างกันไป แต่ปัญหาที่ทั่วโลกให้ความสนใจคือ ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ และหลอดเลือด ซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ จึงขอเตือนผู้บริโภคกลุ่มสาว ๆ ที่หวังจะพึ่งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในการลดอ้วนหรือลดน้ำหนักว่า ไม่มีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดที่จะใช้ลดความอ้วนได้ การลดความอ้วนที่ถูกวิธี คือ การออกกำลังกาย งดแป้ง ทานผักผลไม้ หมั่นขยับตัวและกายบริหารระหว่างงานได้ ซึ่งสามารถลดอาการเหนื่อยล้าจากกการทำงานได้เช่นกัน ทั้งนี้ ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับอนุญาตจาก อย.ได้ที่ www.fda.moph.go.th หากพบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับอนุญาต สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือผ่าน Line@FDAThai, Facebook: FDAThai หรือ E-mail: [email protected] ตู้ป.1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ. ฝากความห่วงใยมายังพี่น้องประชาชนว่า ควรใช้ความระมัดระวังในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและยามารับประทานเพื่อรักษาโรค ควรเลือกซื้อจากร้านขายยา หรือร้านค้าที่มีหลักแหล่งและไม่ควรหลงเชื่อโฆษณาที่อวดอ้างผอมภายใน 7 วัน หรือขาวแบบออร่า เป็นต้นและขอเตือนผู้ที่ลักลอบผลิต และขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ อาหารปลอมหรือที่ไม่ได้รับอนุญาต ให้หยุดการกระทำดังกล่าวทันทีโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจะขยายผลและกวาดล้างต่อไป หากตรจพบจะดำเนินคดีถึงที่สุดเพราะท่านกำลังทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตราย เกิดผลกระทบกับร่างกายและเสียโอกาสได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ทั้งนี้ หากประชาชนพบเห็นการกระทำความผิด สามารถแจ้งได้ที่ สายด่วน ปคบ. 1135 หรือเพจ ปคบ. เตือนภัยผู้บริโภค