วันที่ 26 พ.ค. 65 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดเสวนา “นวัตกรรมการอ่านวยความยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน” ภายใต้แผนงานขยายผลการวิจัยสู่การ ปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนแปลงการอำนวยความยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อยอดและขยายผลนวัตกรรมการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของการอำนวยความยุติธรรม สำหรับเด็กและเยาวชนสู่การประยุกต์ใช้ในเชิงปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงประเมินผลสำเร็จของการนำ นวัตกรรมการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของการอำนวยความยุติธรรมสู่การปฏิบัติจริง และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ ด้านการอำนวยการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนผ่านการบูรณาการในเชิงกฎหมาย การประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีสาสมัยทางนิติวิทยาศาสตร์ และการสร้างเครือข่ายภาคประชาชนที่เข้มแข็ง ภายในงานนอกจากการ รายงานผลการวิจัย การเสวนา ยังได้มีการจัดนิทรรศการนวัตกรรมการอำนวยความยุติธรรมสําหรับเด็กและ เยาวชน ภายใต้ 3 แฟลตฟอร์ม 8 โครงการ โดยมีผู้เข้าร่วมการเสวนากว่า 200 คน ณ โรงแรมมารวย การ์เด้นกรุงเทพ และผ่านระบบออนไลน์
ศาสตราจารย์ พลตำรวจตรีหญิง ดร.พัชรา สินลอยมา ที่ปรึกษาคณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำารวจ และผู้บริหารจัดการโครงการวิจัย กล่าวว่า ปี 2563 กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน รายงานสถิติการกระทําผิดของเด็กและเยาวชนประจำปี พบว่ามีจำนวนถึง 19,470 คดี ซึ่งคดีส่วนใหญ่เป็นฐาน ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จํานวน 9,600 คดี หรือคิดเป็นร้อยละ 49.31 ของคดีทั้งหมด จึงสะท้อนให้เห็นได้ อย่างชัดเจนว่าปัญหาการกระทําผิดในคดียาเสพติดของเด็กและเยาวชนต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. จึงร่วมกับโรงเรียนนายร้อยตรวจขับเคลื่อน นวัตกรรมยุติธรรมท้าทายไทย ภายใต้แผนงานขยายผลการวิจัยสู่การปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนแปลงการอำนวย ความยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด โดยกรอบการวิจัยในครั้งนี้ ได้มีการ พิจารณาถึงการนํานวัตกรรมที่เกิดจากการบริหารจัดการโครงการวิจัยดังกล่าวมาสู่การต่อยอดและขยายผลใน เชิงปฏิบัติการ โดยการเชื่อมโยงผลผลิตที่เด่นชัด (Best Practice) จากกรอบการวิจัยทางด้านกฎหมาย นิติ วิทยาศาสตร์ และฐานข้อมูล เพื่อให้สามารถสะท้อนถึงผลสัมฤทธิ์ที่พึงประสงค์เกี่ยวกับการอำนวยการยุติธรรม สำหรับเด็กและเยาวชนที่มีการบูรณาการ ทั้งในเชิงกฎหมาย การใช้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยทางนิติ วิทยาศาสตร์ และการสร้างเครือข่ายภาคประชาชนที่เข้มแข็ง
ผู้บริหารจัดการโครงการวิจัย กล่าวต่อไปว่า แนวคิดการดำเนินงานสามารถแสดงให้เห็นถึงความ เชื่อมโยงของแต่ละกรอบการวิจัยได้อย่างชัดเจน โดยการดำเนินงานในระยะนี้ มุ่งเน้นให้เกิดการขยายผลและอยอดนวัตกรรมยุติธรรมท้าทายไทยสู่การปฏิบัติในเชิงรูปธรรม เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในกระบวนการ ยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน ทั้งการเปลี่ยนแปลงในเชิงกฎหมายที่จะเกิดการบูรณาการเครือข่ายผู้บังคับใช้ กฎหมายในการอำนวยความยุติธรรมแก่เด็กและเยาวชนโดยมุ่งประโยชน์สูงสุดของตัวเด็กและเยาวชนเป็นสําคัญ ควบคู่ไปกับการประยุกต์ใช้มาตรการพิเศษแทนการดาเนินคดีอาญา ซึ่งถือเป็นการผสมผสานระหว่างมาตรการ ทางกฎหมายและมาตรการทางสังคมในการแก้ไขปัญหาการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนให้เกิดประสิทธิภาพ สูงสุด
การเปลี่ยนแปลงในมิติต่อมาคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงของการผลักดันการประยุกต์ใช้กระบวนการทาง นิติวิทยาศาสตร์ให้มีบทบาทสําคัญในกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในส่วนของการใช้ประโยชน์ใน กระบวนการรวบรวมพยานหลักฐานที่มีการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบและการนำองค์ความรู้ไปใช้ในการ ปฏิบัติงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือการสร้าง ความยั่งยืนให้กับกระบวนการคืนเด็กดีสู่สังคมไม่ให้หวนกลับมากระทำผิดซ้ำ โดยกระบวนการสำคัญคือการ ประยุกต์ใช้แนวคิดทางจิตวิทยาสังคมในการสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจให้แก่เด็กและเยาวชนที่ได้รับการ ปล่อยตัวสู่ชุมชน ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของคนในสังคมในการให้โอกาสเด็กและเยาวชนเหล่านี้ ให้มีพื้นที่จุดยืน มีอาชีพสุจริต หรือมีแนวทางการดำเนินชีวิตที่มีคุณภาพตามครรลองของสังคมปกติ
ผลการดาเนินงานใต้สร้างแรงกระเพื่อมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการอำนวยความยุติธรรมแก่เด็กและ เยาวชนอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ทั้งในมิติทางกฎหมายที่เกิด SOP ด้านการปฏิบัติต่อเด็กกระทำความผิดซึ่ง มีอายุไม่เกิน 12 ปี หรือการใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยมาเป็นกลไกสําคัญในการหันเหคดีเด็กและเยาวชน ออกจากกระบวนการยุติธรรมกระแสหลักเพื่อสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม มิติทางนิติวิทยาศาสตร์ที่เกิด โปรแกรม JUDA ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีระบบฐานข้อมูลการกระทำความผิดของเด็กและ เยาวชนที่แยกออกจากฐานข้อมูลของผู้ใหญ่ เพื่อใช้งานในระดับสถานีตำรวจได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดรับกับ การพัฒนาเทคนิคการตรวจสารเสพติดทางเส้นผมที่จะพลิกโฉมการตรวจสารเสพติดด้วยวิธีการเดิมๆ ให้มี ความแม่นยำและรวดเร็วมากขึ้น ประหยัดทั้งงบประมาณและระยะเวลา โดยขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้ ความร่วมมือของ 4 หน่วยงานใหญ่ ได้แก่ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและ เยาวชน กรมคุมประพฤติ และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ส่วนมิติด้านการผนึกพลังเครือข่าย ได้เกิดการพัฒนา หลักสูตรทักษะทางอาชีพทั้ง Hard Skill และ Soft Skill ที่ตรงตามความถนัดของเด็กและเยาวชนและความ ต้องการของตลาดอาชีพ รวมทั้งการบูรณาการความร่วมมือของภาคีเครือข่ายสถานประกอบการกว่า 25 แห่ง ที่ พร้อมจะมอบโอกาสในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพจากสถานที่จริง สภาพแวดล้อมจริง และสถานการณ์จริง รวมถึงการเพิ่มโอกาสในการมีงานทํา มีอาชีพ และมีรายได้ที่เหมาะสมเมื่อได้รับการปล่อยตัวกลับคืนสู่สังคม
เด็กและเยาวชนเปรียบเสมือนต้นกล้าที่รอวันเติบใหญ่เป็นอนาคตของชาติ ผู้ใหญ่ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจึงต้องบูรณาการความร่วมมือในการสนับสนุนโอกาสและการนำแนวทางที่ เหมาะสม เพื่อให้เด็กและเยาวชนเหล่านี้ที่จะอยู่ในสังคมต่อไปอีกไม่ต่ำกว่า 50 ปี เกิดความตระหนักในคุณค่า ชีวิต เกิดความมุ่งมั่นในการกลับตนเป็นคนดี มีความพร้อมที่จะกลับคืนสู่สังคมอย่างมีคุณภาพ และไม่หวน กลับไปกระทำผิดเข้าอีก ศาสตราจารย์ พลตำรวจตรีหญิง ดรพัชรา กล่าว