กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ จับกุมเครือข่ายค้ามนุษย์ นำผู้เสียหายมาขูดรีดบังคับใช้แรงงานบนเรือประมง ภายใต้ยุทธการ “ปราบเรือมนุษย์”

ตามนโยบายของ ฯพณฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ฯพณฯ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ พล.ต.อ.ดร.ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ได้ตระหนักถึงปัญหาการค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้น มีบัญชาไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ติดตามเฝ้าระวังขบวนการค้ามนุษย์ในทุกรูปแบบ พร้อมทั้งให้บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดรับข้อมูลเบาะแส จากประชาชน เพื่อป้องกันและปราบปรามเครือข่ายการค้ามนุษย์อย่างจริงจัง

พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จึงได้กำชับให้ทุกหน่วยงานในสังกัดให้ดำเนินการป้องกันและปราบปรามขบวนการค้ามนุษย์อย่างเด็ดขาด โดยมอบหมายให้ ศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นำโดย พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร./ผู้อำนวยการศูนย์ฯ, พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้ช่วย ผบ.ตร./รอง ผู้อำนวยการศูนย์ฯ, พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร./รอง ผู้อำนวยการศูนย์ฯ, พล.ต.ท.ปัญญา ปิ่นสุข ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร./หน.ชป.ต่อต้าน การค้ามนุษย์ในประเทศไทย ตร. (TATIP) เป็นหน่วยงานในการขับเคลื่อนนโยบาย

กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่มีอำนาจหน้าที่ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมเฉพาะทาง ภายใต้การอำนวยการ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา รอง ผบช.ก. ได้สั่งการให้ กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ นำโดย พล.ต.ต.วิวัฒน์ คำชำนาญ ผบก.ปคม. ดำเนินการสืบสวนปราบปรามขบวนการค้ามนุษย์ในทุกรูปแบบ

สืบเนื่องด้วยเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564 ประเทศมาเลเซียได้ส่งกลับแรงงานไทย ทางด่านชายแดน อ.สะเดา จ.สงขลา จำนวน 44 คน แบ่งเป็นแรงงานประมงจำนวน 40 คน และแรงงานอื่นจำนวน 4 คน จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบมีผู้เสียหายเข้าข่ายการค้ามนุษย์จำนวน 3 ราย จึงได้ทำการสืบสวนขยายผลจนกระทั่งพบกลุ่มขบวนการ ค้ามนุษย์ มีการแบ่งหน้าที่กันทำดังนี้ กลุ่มนายหน้า ทำหน้าที่เป็นธุระจัดหาหลอกลวงเหยื่อ โดยเลือกเหยื่อที่เดินทางโดยรถไฟจากต่างจังหวัดเข้ามาหางานทำในกรุงเทพมหานครแล้วมาลงที่สถานีรถไฟหัวลำโพง จากนั้นจะใช้วิธีเข้าไป ตีสนิทผู้เสียหาย หว่านล้อม ชักชวนให้ไปทำงานบนเรือประมง โดยหลอกว่าจะได้รับค่าตอบแทนเป็นรายเดือน ในอัตราสูง เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อ กลุ่มนายหน้าก็จะพาผู้เสียหายไปพักอาศัยที่บ้านเช่าหลังหนึ่งที่ได้จัดเตรียมไว้ใน อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี เป็นการชั่วคราวเพื่อรอเวลา จากนั้นกลุ่มนายหน้าได้พาผู้เสียหายไปส่งมอบให้กับเจ้าของเรือประมง ที่ท่าเรือแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มนายหน้าจะได้รับเงินค่าตอบแทนจากเจ้าของเรือตามจำนวนเหยื่อที่นำมาส่ง รายละประมาณ 50,000 บาท จากนั้นเจ้าของเรือประมงได้ให้ผู้เสียหายลงเรือประมงแล้ว แอบลักลอบเดินทางออกนอกราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย เพื่อไปทำประมงในเขตน่านน้ำประเทศมาเลเซีย เพราะเจ้าของเรือประมงและไต๋ก๋งเรือไม่ได้จัดทำเอกสารคนประจำเรือ(SEA MAN BOOK) , เอกสารการเดินทาง เข้า-ออกของเรือประมงลำเกิดเหตุ และไม่ได้แจ้งหน่วยที่เกี่ยวข้อง ด้วยมีเจตนาปกปิดข้อมูลของลูกเรือและเรือลำที่ใช้ในการกระทำความผิด ส่วน ไต๋ก๋งเรือ จะเป็นผู้ควบคุมการทำงานต่างๆบนเรือประมง ขณะอยู่ในเขตน่านน้ำประเทศมาเลเซีย ซึ่งสภาพการทำงานบนเรือเป็นไปด้วยความลำบากยากแค้น ผู้เสียหายถูกบังคับใช้แรงงานโดยให้ทำงานอย่างหนักเป็นเวลาต่อเนื่องติดต่อกัน ในบางเวลาผู้เสียหายลุกตื่นขึ้นมาทำงานไม่ไหว ก็จะถูกไต๋ก๋งเรือทำร้ายร่างกายให้ได้รับบาดเจ็บทั้งร่างกายและจิตใจ ซ้ำยังไม่เคยได้รับเงินค่าจ้างแต่อย่างใด ซึ่งผู้เสียหายพยายามร้องขอให้พากลับประเทศไทย แต่ก็ไม่เป็นผลซ้ำยังบังคับให้ทำงานต่อไปอีก ต่อมาเรือประมงลำดังกล่าวถูกเจ้าหน้าที่ทางการประเทศมาเลเซียจับกุมและผู้เสียหายถูกดำเนินคดี ภายหลังจากพ้นโทษ ทางการประเทศมาเลเซียผลักดันผู้เสียหายกลับ สู่ประเทศไทย และได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลไทยนำเข้าสู่ขบวนการตามกฎหมาย

ต่อมากองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการสืบสวนสอบสวนผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงให้ไปทำงานบังคับใช้แรงงานบนเรือประมง เข้าข่ายมีพฤติการณ์ค้ามนุษย์โดยการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการขูดรีดบังคับใช้แรงงานผู้เสียหายบนเรือประมง โดยสามารถแบ่งกลุ่มคนร้าย ได้เป็น 3 กลุ่ม คือ ๑.กลุ่มนายหน้า ๒.เจ้าของเรือประมง และ๓.ไต๋ก๋งเรือ จากนั้นจึงได้รวบรวมพยานหลักฐานขออนุมัติศาลอาญาออกหมายจับผู้ต้องหาจำนวน 10 คน จำนวน 19 หมายจับ แบ่งเป็น กลุ่มนายหน้า ๕ คน ไต๋เรือ ๔ คน และเจ้าของเรือ ๑ คน

วันที่ 5 พฤษภาคม 2565 กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. พล.ต.ต.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา รอง ผบช.ก. สั่งการให้ กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ นำโดย พล.ต.ต.วิวัฒน์ คำชำนาญ ผบก.ปคม.และ กองบังคับการตำรวจน้ำ นำโดย พล.ต.ต.สมควร พึ่งทรัพย์ กองบังคับการปราบปราม นำโดย พล.ต.ต.มนตรี เทศขัน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี นำโดย พล.ต.ต.ศารุติ แขวงโสภา บูรณาการร่วมกับ กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เปิดปฏิบัติการ(Operation) “ปราบเรือมนุษย์” ปิดล้อมตรวจค้นจับกุม ผู้ต้องหาขบวนการค้ามนุษย์บังคับใช้แรงงานบนเรือประมง จำนวนทั้งสิ้น ๖ เป้าหมาย แบ่งเป็น


๑.กลุ่มนายหน้า จำนวน 1 เป้าหมาย โดยได้นำหมายค้นของศาลอาญา ที่325/2565 ลงวันที่ ๓ พ.ค.2565 เข้าตรวจค้น บ้านหลังหนึ่ง ภายในหมู่บ้านนันทิชา 3 ตำบลบางบัวทอง อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี และจับกุมตัว นางสาวเพ็ญศิริ (สงวนนามสกุล) อายุ43 ปี ตามหมายจับของศาลอาญาที่815/2565 ลงวันที่ 27 เม.ย.2565 ในความผิดฐาน “ร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปและสมคบกันโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์โดยแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการบังคับใช้แรงงานหรือให้บริการหรือการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคลไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตามและได้กระทำผิดตามที่ตกลงกันไว้”
​๒ .ท่าเทียบเรือและบ้านพักเจ้าของเรือประมง จำนวน ๕ เป้าหมาย
​​2.1 ได้นำหมายค้นของศาลอาญา ที่ 323/2565 ลงวันที่ ๓ พ.ค.2565 เข้าตรวจค้น ท่าเทียบเรือแห่งหนึ่งภายใน ซอย 8 (หลวงสุข) ถนนท้ายบ้าน ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อค้นหาพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคดีค้ามนุษย์บนเรือประมง
2.๒ ได้นำหมายค้นของศาลอาญา ที่ 324/2565 ลงวันที่ ๓ พ.ค.2565 เข้าตรวจค้นบ้านของ ภายในหมู่บ้านพนาสนธิ์ซิตี้ ถนนศรีนครินทร์ ตำบลบางเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อค้นหาพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคดีค้ามนุษย์บนเรือประมง
2.๓ ได้นำหมายค้นของศาลอาญา ที่ 321 /2565 ลงวันที่ ๓ พ.ค.2565 เข้าตรวจค้น บริษัทและเป็นท่าเรือ ในตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อค้นหาพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคดีค้ามนุษย์บนเรือประมง
​​2.๔ โดยได้นำหมายค้นของศาลอาญา ที่ 322/2565 ลงวันที่ ๓ พ.ค.2565 เข้าตรวจค้น บ้านหลังหนึ่ง ตำบลบางเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อค้นหาพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคดีค้ามนุษย์บนเรือประมง
​2.๕ กก.5 บก.ปคม. ได้นำหมายค้นของศาลอาญา ที่ 327/2565 ลงวันที่ 3 พ.ค.2565 เข้าตรวจค้น บ้านหลังหนึ่ง ตำบลเกาะเปิด อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี และจับกุมตัว นายคมสัน หรือเสี่ยสัน(สงวนนามสกุล) อายุ 56 ปี ตามหมายจับของศาลอาญาที่ 826/2565 ลงวันที่ 27 เม.ย. 2565 ในความผิดฐาน “ร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปและสมคบกันโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์โดยแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการบังคับใช้แรงงานหรือให้บริการหรือการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคลไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม”
3.จับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับ ในความผิดฐาน “สมคบกันโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์โดยแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการบังคับใช้แรงงานหรือให้บริการหรือการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคลไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม”ดังนี้
​3.1 จังหวัดขอนแก่น กก.๓ บก.ปคม.พร้อมกำลังจับกุมตัว นายอาทิตย์ธิชัย (สงวนนามสกุล) อายุ ๓๙ ปี ซึ่งเป็นกลุ่มนายหน้า ตามหมายจับของศาลอาญาที่ ๘๑๖/๒๕๖๕ ลงวันที่ ๒๗ เม.ย.๒๕๖๕ โดยจับกุมได้ที่ บริเวณหน้าบ้านหลังหนึ่ง ต.ม่วงหวาน อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น
​​3.๒ จังหวัดนนทบุรี กก.๒ บก.ปคม. พร้อมกำลังจับกุมตัว นายเล็กหรืออ๊อฟ (ไม่ทราบชื่อและนามสกุลจริง) อายุ ๔๕ ปี ซึ่งเป็นกลุ่มนายหน้า ตามหมายจับของศาลอาญาที่ ๘๒๘/๒๕๖๕ ลงวันที่ ๒๗ พ.ค.๒๕๖๕ โดยจับกุมได้ที่ บ้านหลังหนึ่ง ภายในหมู่บ้านนันทิชา 3 ตำบลบางบัวทอง อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
​3.๓ สถานีรถไฟหัวลำโพง กก.๒ บก.ปคม. พร้อมกำลังจับกุมตัว นายสุดใจ (สงวนนามสกุล) อายุ ๕๖ ปี ซึ่งเป็นกลุ่มนายหน้า ตามหมายจับของศาลอาญาที่ ๘๒๗/๒๕๖๕ ลงวันที่ ๒๗ พ.ค.๒๕๖๕ โดยจับกุมได้ที่ สถานีรถไฟหัวลำโพง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
​3.๔ สถานีรถไฟหัวลำโพง กก.๕ บก.ป. พร้อมกำลังจับกุมตัว นายวารี (สงวนนามสกุล) อายุ ๕๖ ปี ซึ่งเป็นกลุ่มนายหน้า ตามหมายจับของศาลอาญาที่ ๘๓๑/๒๕๖๕ ลงวันที่ ๒๗ พ.ค.๒๕๖๕ โดยจับกุมได้ที่ สถานีรถไฟหัวลำโพง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
​3.๕ จังหวัดชลบุรี กก.๒ บก.ปคม.ร่วมกับสถานีตำรวจน้ำศรีราชา พร้อมกำลัง จับกุมตัว นายถวิล (สงวนนามสกุล) อายุ ๕๖ ปี ซึ่งเป็นกลุ่มไต๋เรือ ตามหมายจับของศาลอาญาที่ ๘๓๑/๒๕๖๕ ลงวันที่ ๒๗ พ.ค.๒๕๖๕ โดยจับกุมได้ที่บริเวณท่าเรือแหลมฉบับ ตำบลแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
รวมจับกุมผู้ต้องหาทั้งสิ้น 7 ราย ๑๖ หมายจับ
นอกจากนั้นความผิดฐานค้ามนุษย์เป็นหนึ่งในความ ผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปราม การฟอกเงิน 2542 เจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ได้ประสานข้อมูลกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ได้ทำการตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินและสืบหาทรัพย์สินของเครือข่ายกลุ่มผู้ต้องหาและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อทำการยึดทรัพย์ให้ตกเป็นของแผ่นดินต่อไป​

กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ จึงขอประชาสัมพันธ์เตือนภัยแก่พี่น้องประชาชนทั่วไปดังนี้

  1. ฝากเตือนผู้ประกอบการเรือประมง ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เช่น ขอใบอนุญาตทำการประมงอย่างถูกต้องจากกรมประมง ขอจัดทำเอกสารผู้ที่ทำงานบนเรือประมงอย่างถูกต้อง แจ้งการเข้า-ออกของเรือประมงอย่างถูกต้องกับกรมประมงและกรมเจ้าท่า โดยปฏิบัติตามมาตรการต่างๆที่รัฐกำหนดไว้เพื่อป้องการการค้ามนุษย์ เป็นต้น
  2. ฝากเตือนไปยังผู้ที่จะไปทำงานประมง ต้องตรวจสอบเอกสารหลักฐานการจ้างงานทุกครั้งว่าเป็นไปตามข้อตกลงและระเบียบกฎหมายหรือไม่ ในเรื่องของเวลาในการทำงานและการพักผ่อน การจ้างงาน รวมไปถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน เพื่อให้ไม่ถูกเอาเปรียบ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานบนเรือประมง พ.ศ.2562
    ๓. ฝากเตือนผู้ที่คิดจะตั้งตัวเป็นเอเย่นต์หรือนายหน้าหาคนไปลงเรือประมง ต้องขออนุญาตและได้รับการอนุญาตจากกรมการจัดหางานกระทรวงแรงงานเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นในนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา ไม่เช่นนั้นจะผิดกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน อันมีโทษทางอาญาทั้งจำทั้งปรับ
    ๔. ฝากประชาสัมพันธ์ประชาชน ช่วยกันเป็นหูเป็นตาสอดส่อง หากพบการกระทำความผิดหรือการบังคับใช้แรงงานบนเรือประมง ให้แจ้งเจ้าหน้าที่กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์หรือเ