วันที่ 20 พ.ย.2564 ได้มีการแถลงผลปฏิบัติการจับกุมกรณีดังกล่าว จำนวน 2 คดี ดังนี้คดีที่ 1 จับกุมกรณีหลอกให้ผู้เสียหายส่งรหัสผ่าน บัญชีบิทคับออนไลน์ และเข้ารหัสไปโอนเงินของผู้เสียหายออกมา 97,000 บาท ท้องที่ สภ.หางดง จว.เชียงใหม่ ผู้ต้องหา นายฉัตรธวัช ศรีทรงเมือง อายุ 24 ปี ที่อยู่ ต.หนองเต่า อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี (ตามหมายจับศาลจังหวัดเชียงใหม่ ที่ 750/2564 ลง 18 พ.ย.2564)
จับกุมเมื่อวันที่ 19 พ.ย.64 ที่บ้านพักใน ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี พร้อมของกลาง โน๊ตบุ๊ค 1 เครื่อง , ไอแพท 1 เครื่อง ,บัตร ATM 1 ใบ ข้อหา “นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะ เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนฯ”
พฤติการณ์ ผู้ต้องหาแสดงตนเป็นเจ้าหน้าที่บริษัทบิทคับ ออนไลน์ จำกัด (BitKub) ทำการโทรหลอกให้ผู้เสียหายส่งรหัสผ่านมา และเข้าไปโอนเงินในบัญชี BitKub ของผู้เสียหายออกมาจำนวน 97,000 บาท เข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างใหม่ของตนเอง จึงได้รวบรวมพยานหลักฐานทำการขอให้ศาลออกหมายจับ และต่อมาสามารถจับกุมตัวผู้ต้องหา ส่งพนักงานสอบสวน สภ.หางดง จว.เชียงใหม่ ดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งพบการกระทำผิดในลักษณะเดียวกัน มูลค่าความเสียหายอีกกว่า 1.5 ล้านบาท ในท้องที่ สน.พญาไท โดยจะได้สืบสวนขยายผล และจับกุมผู้เกี่ยวข้องต่อไป
คดีที่ 2 จับกุมเครือข่ายโรแมนสแกม หลอกผู้เสียหายให้หลงเชื่อและโอนเงินค่าต่างๆ กว่า 6,759,000 บาท ท้องที่ สภ.ช้างเผือก จว.เชียงใหม่ ผู้ต้องหาที่ 1 นายจอร์นสัน ออสแมน (Mr.Jhonson Usman) สัญชาติซูดานใต้ ไม่ทราบหมายเลขหนังสือเดินทาง (อ้างเป็นเจ้าหน้าที่สหประชาชาติเข้าไปพบผู้เสียหาย และสาธิตการล้างพันธบัตรดอลลาร์เคลือบสีดำ)
จับกุมเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564 เวลา 20.30 น สถานที่จับกุม หอพักดับเบิ้ลทรี (Double Tree Residence) ถ.สายใจ ต.ช้างเผือก อ.เมือง จว.เชียงใหม่ ข้อหา เป็นคนต่างด้าวเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต และ “ร่วมกันฉ้อโกงทรัพย์โดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น และนำเข้าสู่ ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ ในประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายแต่ผู้อื่นหรือประชาชน” ผู้ต้องหาที่ 2 น.ส.อาภัสรา ชูสุวรรณ ชื่อเล่น เฟิร์น อายุ 25 ปี มีภูมิลำเนา ต.แม่อ้อ อ.พาน จ.เชียงราย (มีหน้าที่จัดหาบัญชีธนาคาร) ซึ่งเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดเชียงใหม่ ที่ จ.628/2564 ลงวันที่ 22 กันยายน 2564
จับกุมเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2564 เวลาประมาณ 13.00 น สถานที่จับกุม จุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก ต.อรัญประเทศ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ข้อหา “ร่วมกันฉ้อโกงทรัพย์โดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น และนำเข้าสู่ ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ ในประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายแต่ผู้อื่นหรือประชาชน”
พฤติการณ์กล่าวคือ มีผู้ใช้เฟสบุ๊คชื่อ “Chhorvin Charya” (ชอร์วิน ชาเรีย) และ Alex Williams (อเล็กซ์วิลเลี่ยม) หลอกผู้เสียหาย โดยแสดงตนว่าเป็นศัลยแพทย์ทหาร กองทัพอเมริกา เมื่อเกษียณแล้วอยากเดินทางมาอยู่ที่ประเทศไทย มีทรัพย์สินจำนวนมาก เป็นเงินเคลือบด้วยสารเคมีสีดำ และหากว่าไปซื้อน้ำยามาล้างจะได้เป็นธนบัตรดอลลาร์จริง และมีเงินดังกล่าวเก็บไว้จำนวนมาก เพื่อหลอกให้ผู้เสียหายช่วยจ่ายเงินค่าน้ำยา ฟอกเงิน แล้วจะนำเงินที่ฟอกแล้วมาแบ่งกัน
เมื่อทราบดังนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ สืบสวนติดตาม จนไปจับกุมคนร้ายคือ นายจอร์นสัน ออสแมน (Mr.Jhonson Usman) สัญชาติ ซูดานใต้ได้ที่ หอพักดับเบิ้ลทรี (Double Tree Residence) เลขที่ 8 ถ.สายใจ ต.ช้างเผือก อ.เมือง จว.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 ซึ่งจากการตรวจสอบจากระบบฐานข้อมูลคนเข้าเมืองของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองก็ ไม่พบข้อมูลการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแต่อย่างใด ในความผิดฐาน “เป็นคนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต” และจับกุม ตัวส่งพนักงานสอบสวน สภ.ช้างเผือก เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย ต่อมาจากการสืบสวนขยายผลพบว่า นายจอร์นสัน ออสแมน (Mr.Jhonson Usman) สัญชาติ ซูดานใต้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มเครือข่ายโรแมนซ์สแกมในการ หลอกลวงเอาเงินผู้เสียหายในคดีนี้ด้วย พนักงานสอบสวน สภ.ช้างเผือก จึงได้แจ้งข้อ กล่าวหาเพิ่มเติมว่า “ร่วมกันฉ้อโกงทรัพย์โดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น และนำเข้าสู่ ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอม พิวเตอร์อันเป็นเท็จในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแต่ผู้อื่นหรือประชาชน”
ส่วนผู้ต้องหาที่ 2 มีหน้าที่จัดหาบัญชีธนาคาร ตามคำสั่งของแฟนหนุ่มชื่อ นายคริส (Chris Chester Armani) สัญชาติไนจีเรีย อาศัยอยู่เมืองพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เพื่อใช้รับโอนเงินที่ได้จากการหลอกลวง บุคคลอื่น โดยบุคคลที่รับจ้างเปิดบัญชีธนาคาร จะได้รับค่าตอบแทนบัญชีละ 5,000 บาท
โดยจะหลอกให้ประชาชนโอนเงินเข้ามาในบัญชีที่เกี่ยวข้องดังนี้
- บัญชีธนาคารกสิกรไทย ชื่อบัญชี น.ส.ญาดา ปันอินแปง เลขที่บัญชี 061-2-75684-8
- บัญชีธนาคารกสิกรไทย ชื่อบัญชี ภัคจิรา ติ๊บมา เลขที่บัญชี 088-3-19138-2
- บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ ชื่อบัญชี นายวสุพล ลิ้มรังษี เลขที่บัญชี 426-0-79692-4
- บัญชีธนาคารกรุงเทพ ชื่อบัญชี นายกฤษฎา แสงสว่าง เลขที่บัญชี 030-7-29934-7
- บัญชีธนาคารกรุงเทพ ชื่อบัญชี เพ็ญนภา ทองเอี่ยม เลขที่บัญชี 629-0-53475-6 ตำรวจภูธรภาค 5 ขอประชาสัมพันธ์ว่าไม่ควรไว้ใจหรือเชื่อใจบุคคลอื่นง่าย ๆ โดยเฉพาะคนที่เพิ่งรู้จักกันทางสื่อสังคมออนไลน์ หากพบ พฤติกรรมในลักษณะ เช่น เมื่อพูดคุยกันไปสักพักจะมีการใช้คำหวาน พูดให้ความหวัง และอยากจะ ส่งของมาให้ โดยจะอ้างว่าเป็นเงินสด หรือสิ่งของมีค่าต่างๆ แต่คุณต้องจ่ายค่าธรรมเนียมและภาษี ให้สันนิษฐานได้ว่าอาจถูกหลอก ควรตรวจสอบข้อมูลของบุคคลดังกล่าวให้ดี เพื่อที่จะได้ไม่ตกเป็น เหยื่อได้