ศูนย์ปราบปรามคนร้ายข้ามชาติและเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปชก.ตร.), กองบัญชาการสอบสวนกลาง กองบังคับการปราบปราม ภายใต้การอำนวยการสั่งการของ พล.ต.ต.จิรภพ ภูริเดช รอง ผบช.ก./หัวหน้าส่วนปฏิบัติการที่ 1 ศปชก.ตร., พล.ต.ต.สุวัฒน์ แสงนุ่ม ผบก.ป., พล.ต.ต.รุ่งโรจน์ ฐากูรปุณยสิริ ผบก.ตม.3, พ.ต.อ.มนตรี เทศขัน, พ.ต.อ.มีชัย กำเนิดพรม, พ.ต.อ.พัฒนศักดิ์ บุบผาสุวรรณ, พ.ต.อ.พรศักดิ์ เลารุจิราลัย รอง ผบก.ป. พ.ต.อ.ธงชัย อยู่เกษ ผกก.1 บก.ป., พ.ต.ท.สาธิต สมานภาพ, พ.ต.ท.อัครพล มณีวรรณ, พ.ต.ท.ศราวุธ จันต๊ะวงค์, พ.ต.ท.อลงกต คชแก้ว และ พ.ต.ท.ก่อเกียรติ วุฒิจำนงค์ รอง ผกก.1 บก.ป.สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม นำโดย พ.ต.ท.จักรี กันธิยะ, ว่าที่ พ.ต.ต.ศิวกร สายบัว, ว่าที่ พ.ต.ต.ปภินวิทย์ อุดมพร, ว่าที่ พ.ต.ต.สุรศักดิ์ หญีตบึ้ง สว.กก.1 บก.ป. พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.1 บก.ป. ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองสมุทรปราการ บก.ตม.3 นำโดย พ.ต.อ.ปริญญา กลิ่นเกษร ผกก.ตม.จว.สมุทรปราการ
โดยเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมได้ทำการสืบสวนติดตามกลุ่มชาวต่างชาติ ที่มีพฤติกรรมลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย และมีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ตามนโยบายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งจากการสืบสวนพบว่าการลักลอบส่งยาเสพติด มีรูปแบบที่เปลี่ยนไปจากเดิม คือคนร้ายจะส่งยาเสพติดโดยซุกซ่อนในพัสดุรูปแบบต่างๆ และใช้บริษัทขนส่งเอกชนเป็นสื่อกลางในการส่งยาเสพติดไปต่างประเทศ เพื่ออำพรางการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ เมื่อทราบดังนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.1 บก.ป. จึงได้ประสานงานกับบริษัทขนส่งเอกชน เฝ้าสืบสวนติดตามกลุ่มชาวต่างชาติที่มีพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดในรูปแบบดังกล่าวเรื่อยมา
ต่อมาเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563 เวลา 10.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.1 บก.ป. ได้รับแจ้งจากบริษัทขนส่งเอกชนแห่งหนึ่ง ย่านเขตราชเทวี กรุงเทพฯ ให้ทำการตรวจสอบวัตถุต้องสงสัย ซึ่งเชื่อว่าภายในบรรจุสิ่งของผิดกฎหมาย ที่จะทำการส่งออกไปยังเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ซี่งจากการตรวจสอบ พบยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาไอซ์) น้ำหนักรวมประมาณ 9 กิโลกรัม ซุกซ่อนอยู่ภายในกระเป๋าสะพายสตรีจำนวน 18 ใบ จากทั้งสิ้น 30 ใบ ห่อหุ้มด้วยแผ่นกันกลิ่นและพันด้วยเทปสีน้ำตาลเป็นอย่างดี เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ทำการตรวจยึดเป็นของกลาง
จากการสืบสวนขยายผลพบว่า บุคคลผู้มาส่งยาเสพติด (ยาไอซ์) เป็นหญิงชาวไทย อายุ 24 ปี ชื่อ น.ส.วรรณวิสา (สงวนนามสกุล) โดยมีชายต่างชาติผิวสีดำ ชื่อนายเฮนรีฯ (สงวนนามสกุล) สัญชาติไนจีเรีย ซึ่งมีความเกี่ยวข้องเป็นสามีภรรยา เป็นผู้ขับขี่รถยนต์มาส่งยาเสพติด อีกทั้งเมื่อตรวจสอบรอยลายนิ้วมือแฝงบริเวณห่อบรรจุยาเสพติด พบว่าตรงกันกับลายพิมพ์นิ้วมือของ นายเฮนรีฯ ซึ่งเคยมีประวัติคดีการกระทำความผิดเกี่ยวข้องกับยาเสพติด และจากการสืบสวนเพิ่มเติมยังพบอีกว่า มีหญิงชาวไทยที่มีสามีเป็นชาวต่างชาติมีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดหากระเป๋าสะพายสตรีที่ใช้บรรจุยาเสพติด ซึ่งต่อมาพนักงานสอบสวน กก.1 บก.ป. ได้ดำเนินการออกหมายจับกลุ่มผู้ต้องหาดังกล่าว
จากกรณีดังกล่าวผู้บังคับบัญชาเล็งเห็นว่าการกระทำของกลุ่มผู้ต้องหามีการวางแผนลักลอบจำหน่ายยาเสพติดไปยังต่างประเทศโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดซ้ำๆสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของประเทศเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ การกระทำดังกล่าวยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นของชาวต่างชาติอีกด้วย เพื่อเป็นการป้องกันและปราบปรามกลุ่มผู้ลักลอบจำหน่ายยาเสพติดในรูปแบบดังกล่าวอย่างเข้มงวดและจริงจัง จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.1 บก.ป. และศูนย์ปราบปรามคนร้ายข้ามชาติและเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้เร่งดำเนินการติดตามจับกุมกลุ่มผู้ต้องหากลุ่มนี้ให้ได้โดยเร็วที่สุด
ต่อมาวันที่ 24 ส.ค. 2564 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.1 บก.ป. จึงได้บูรณาการกำลังกับเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองสมุทรปราการ บก.ตม.3 เข้าทำการตรวจค้นสถานที่เป้าหมายรวม 4 จุด โดยแบ่งเป็น ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ 3 จุดตรวจค้น และพื้นที่กรุงเทพมหานคร 1 จุดตรวจค้น สามารถจับกุมชาวไทยและกลุ่มชาวต่างชาติที่ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย และมีพฤติกรรมที่น่าเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับยาเสพติดได้ จำนวน 4 ราย ซึ่งเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับจำนวน 2 ราย และกลุ่มคนต่างด้าวสัญชาติไนจีเรีย
จำนวน 2 ราย ประกอบด้วย
1.นายเฮนรีฯ (สงวนนามสกุล) สัญชาติไนจีเรีย ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 210/2564 และหมายจับศาลอาญาที่ 567/2560 ในความผิดฐาน “ร่วมกันมียาเสพติดให้โทษประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน หรือยาไอซ์) ไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินยี่สิบกรัมขึ้นไป โดยไม่ได้รับอนุญาต, ร่วมกันมียาเสพติดให้โทษประเภท 2 (โคเคน หรือโคเคอีน) ไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย) และพบว่านายเฮนรีฯ อยู่ในราชอาณาจักรไทยเกินกว่ากฎหมายกำหนด จึงได้แจ้งข้อหาเพิ่มเติมว่า “เป็นบุคคลต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยการอนุญาตสิ้นสุด” โดยอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเกินเวลาตามที่ได้รับอนุญาตเป็นเวลากว่า 1,352 วัน
2.น.ส.วรรณวิสาฯ (สงวนนามสกุล) สัญชาติไทย ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 209/2564 ในความผิดฐาน “ร่วมกันมียาเสพติดให้โทษประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน หรือยาไอซ์) ไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินยี่สิบกรัมขึ้นไป โดยไม่ได้รับอนุญาต และร่วมกันมียาเสพติดให้โทษประเภท 2 (โคเคน หรือโคเคอีน) ไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย”
3.นายอิวูอามาดิฯ (สงวนนามสกุล) สัญชาติ ไนจีเรีย ถูกจับกุมในความผิดฐาน “เป็นบุคคลต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต”
4.นายอูโซมาฯ (สงวนนามสกุล) หรือจัสติน สัญชาติ ไนจีเรีย สามารถพิสูจน์ยืนยันบุคคลได้ว่าเดิมมีชื่อว่า นายจัสตินฯ สัญชาติไนจีเรีย ต่อมาได้ทำการเปลี่ยนชื่อ-สกุล และหนังสือเดินทางก่อนที่จะเดินทางกลับเข้ามายังประเทศไทยอีกครั้ง ซึ่งนายจัสตินฯ เป็นบุคคลต้องห้ามเดินทางเข้าประเทศเนื่องจากเคยมีประวัติเคยถูกจับกุมดำเนินคดีในข้อหามียาเสพติดให้โทษประเภท 2 (โคเคน) ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมาก่อน พฤติการณ์เข้าลักษณะต้องห้ามตามมาตรา12 (6) (7) แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ซึ่งสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมืองได้อนุมัติการเพิกถอนวีซ่าของนายโอซูมา หรือจัสตินฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะดำเนินการผลักดันส่งกลับประเทศต้นทางต่อไป
ทั้งนี้ จากการตรวจค้นห้องพักของนายเฮนรีฯ และน.ส.วรรณวิสาฯ พบเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 (โคเคอีน หรือโคเคน) น้ำหนักรวมถุงประมาณ 290 กรัม มูลค่าประมาณ 870,000 บาท จึงได้ตรวจยึดไว้เป็นของกลาง ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจยังได้ตรวจยึดพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคดี อีกจำนวน 16 รายการ อาทิเช่น รถยนต์คันที่ใช้ในการขนส่งยาเสพติด เสื้อผ้าที่สวมใส่ในวันเกิดเหตุ เป็นต้น ซึ่งจะได้ทำการขยายผลเพื่อสืบสวนหาตัวผู้ที่เกี่ยวข้องมาเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
จากการสอบถามกลุ่มผู้ต้องหาฯ ให้การภาคเส