วันนี้ (23 ส.ค.) เวลา 12.00 น. ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทาผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย ผบก.ปคบ. พร้อมด้วย พ.ต.อ.เนติ วงษ์กุหลาบ ผกก.4 บก.ปคบ. และ ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รักษาการรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมแถลงผลการบุกตรวจค้นโรงงานลักลอบผลิตยาฟ้าทะลายโจรโดยไม่ได้รับอนุญาต พร้อมของกลาง ยาฟ้าทะลายโจรชนิดแคปซูลบรรจุ กระปุกละ 450 เม็ด ติดฉลากตรา “ฟ้าทะลายโจร” ไม่ระบุเลขจดแจ้งผลิตภัณฑ์ สมุนไพร จำนวน 43 กระปุก , ผลิตภัณฑ์ยาฟ้าทะลายโจรผสมถั่งเช่า กระปุกละ 50 เม็ด จำนวน 130 กระปุก, ยาเม็ดแคปซูลภายในบรรจุผงไม่ทราบชนิด ซึ่งยังไม่ได้บรรจุลงขวด 182,500 เม็ด, ฉลากสินค้าระบุตรา สินค้า “ฟ้าทะลายโจร” รวมมูลค่าของกลางกว่า 200,000 บาท
พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ กล่าวว่า สืบเนื่องจากมีผู้เสียหายร้องเรียนให้ตรวจสอบการลักลอบผลิตและขายฟ้าทะลายโจรปลอม โดยได้สั่งซื้อจากผู้โพสต์ขายผ่านเพจเฟซบุ๊ก “ฟ้าทะลายโจร ยาสมุนไพรไทย ต้านไวรัส” อ้างสรรพคุณต่างๆ ขายราคาเม็ดละ 1 บาท และ 1 กระปุก 450 เม็ด มีบริการส่งฟรีปลายทาง จึงได้สั่งซื้อยาดังกล่าวเพื่อนำไปถวายแก่พระภิกษุที่อาพาธจากโรคโควิด-19 เมื่อได้สินค้าตรวจสอบพบว่าเป็นยาเม็ดแคปซูลสีเขียวบรรจุในขวดพลาสติกสีขาว ฉลากสีเขียวขาว ยี่ห้อ “ฟ้าทะลายโจร” ภายในแคปซูลเป็นผงสมุนไพร สีน้ำตาลอมเขียว เมื่อพระภิกษุได้ลองทดสอบดูปรากฏว่า ไม่มีรสขม ซึ่งผิดปกติเนื่องจากฟ้าทะลายโจรจะมีรสขม เชื่อว่านำพืชอื่นมาผสมแทนฟ้าทะลายโจร จึงดูฉลากสถานที่ผลิต คือ “ผลิตโดย วิสาหกิจชุมชนบ้านคลอง เลขทะเบียน 03/1-20024 ควบคุมสูตรโดยแพทย์แผนไทย” แต่ไม่พบเลขการจดแจ้งผลิตภัณฑ์สมุนไพร จึงไม่สามารถตรวจสอบผู้ได้รับอนุญาตหรือผู้ผลิตที่แท้จริงได้ คาดว่ายาฟ้าทะลายโจรดังกล่าวน่าจะเป็นของปลอม
ต่อมา ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ร่วมกับ อย. ทำการสืบสวนผู้โพสต์ขายยาฟ้าทะลายโจรดังกล่าวทางเพจเฟซบุ๊ก พบว่ากระทำจริงแต่อ้างว่าไม่ทราบเป็นสินค้าปลอมและรับสินค้ามาจากโรงงานแห่งหนึ่งใน จ.พระนครศรีอยุธยา จึงได้รวบรวมหลักฐานและขอหมายค้น เมื่อวันที่ 13 ส.ค. เข้าตรวจสอบอาคารพาณิชย์ 3 คูหา ในพื้นที่ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา พบ น.ส.เอ (นามสมมุติ) เป็นเจ้าของโรงงาน และ นางบี (นามสมมุติ) เป็นผู้จัดการดูแลการบรรจุ ท้ังสองเกี่ยวพันเป็นแม่ลูกกัน พร้อมของกลางจำนวนหลายรายการ จึงตรวจยึดไว้เป็นของกลางนาส่งพนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ. เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
จากการสอบสวนพบว่าโรงงานดังกล่าวรับวัตถุดิบเป็นผงสมุนไพรมาจากแหล่งอื่น จากน้ันได้นำมาบรรจุลงแคปซูล เพื่อนำออกจำหน่ายให้กับประชาชน โดยเจ้าหน้าท่ีตำรวจจะได้ดำเนินคดีกับบุคคลท้ัง 2 ราย รวมถึงขยายผลจับกุมโรงงานที่จัดส่งวัตถุดิบในการผลิตยาสมุนไพรปลอมครั้งน้ี ตามกฎหมายต่อไป
เบื้องต้น เข้าข่ายความผิดตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑส์ มุนไพร พ.ศ. 2562 ฐาน “ร่วมกันผลิตผลิตภัณฑ์ สมุนไพรปลอม” มีอัตราโทษจาคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท, ฐาน “ร่วมกันผลิตหรือขายผลิตภัณฑ์ สมุนไพรโดยไม่ได้รับอนุญาต” มีอัตราโทษจาคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือท้ังจาท้ังปรับ, ฐาน “ร่วมกันขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม” มีอัตราโทษจาคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 300,000 บาท
พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ ฝากความห่วงใยมายังประชาชน อย่าเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ยาหรือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตามคำโฆษณา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ควรเลือกซื้อจากร้านขายยาหรือร้านค้าท่ีเช่ือถือได้ และขอแจ้งเตือนให้ผู้ท่ีกำลังกระทาความผิด ลักลอบผลิตยาสมุนไพรที่ไม่ได้รับอนุญาต ให้หยุดการกระทำดังกล่าวทันที ถ้าตรวจพบจะดำเนินคดีถึงท่ีสุด
ภญ.สุภัทรา กล่าวในตอนท้ายว่า อย. ได้เฝ้าระวังและตรวจสอบร้องเรียนเก่ียวกับการขายและการโฆษณา ผลิตภัณฑ์สมุนไพรฟ้าทะลายโจร ท้ัง เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ยูทูป ร้านขายยาแอปพลิเคชันไลน์ ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม และ แพลตฟอร์มต่างๆ พบผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรผิดกฎหมายแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มผลิตภัณฑ์ท่ียังไม่ได้รับอนุญาต จาก อย. หรือพบการใช้วัตถุดิบอื่นแทนฟ้าทะลายโจร เช่น ผงบอระเพ็ด 2.ผลิตภัณฑ์ปลอมโดยสวมเลข อย. ของ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและอ้างว่ามีฟ้าทะลายโจรเป็นส่วนประกอบ ซึ่ง อย. ไม่เคยอนุญาตให้ใช้ฟ้าทะลายโจร ในผลิตภัณฑ์อาหาร เนื่องจากมีฤทธ์ิทางยา และ 3.ผลิตภัณฑ์ปลอมโดยสวมเลขทะเบียนตารับยาของผลิตภัณฑ์สมุนไพรอื่น จึงขอเตือนไปยังกลุ่มบุคคลท่ีลักลอบกระทำความผิด อย. และ บก.ปคบ. จะดำเนินการให้ถึงที่สุด