สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีจุดเริ่มต้นมาจาก งานวิทยาการตำรวจ ซึ่งมีความเป็นมาตั้งแต่ปี 2475 จากพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 เปลี่ยนชื่อ”กรมตำรวจภูธร” เป็น “กรมตำรวจ” โดยสังกัดอยู่กองที่ 3 ของตำรวจสันติบาล กลายเป็น จุดกำเนิดของกองทะเบียนประวัติอาชญากร และกองพิสูจน์หลักฐาน มีระเบียนงานดังนี้คือ
การตรวจพิสูจน์ลายมือของผู้ต้องหาหรือผู้ที่สมัครเข้ารับราชการว่าเคยต้องโทษมาแล้วหรือไม่ บันทึกประวัติของผู้กระทำความผิด การตรวจของกลางต่างๆ ออกรูปพรรณของหาย และออกประกาศสืบจับผู้ร้ายซึ่งหลบคดีอาญา ปี พ.ศ. 2484 มีการจัดตั้ง “กองสอบสวนกลาง” พร้อมทั้งแยกงานทางด้านวิทยาการจากกองตำรวจสันติบาลมาขึ้นตรงต่อกองสอบสวนกลาง 13 ก.ย.2503 กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางได้มีการปรับปรุงหน่วยงานใหม่ยุบ “กองวิทยาการ” โดยแยกเป็น 2 กอง คือ กองพิสูจน์หลักฐาน และกองทะเบียนประวัติอาชญากร โดยการแยกงานด้านการพิสูจน์วัตถุพยาน และงานตรวจสอบพิสูจน์ค้นคว้า ในด้านตัวบุคคลออกจากกัน ดังนั้น กองพิสูจน์หลักฐาน และกองทะเบียนประวัติอาชญากร จึงได้ถือกำเนิดเป็นหน่วยงาน ระดับกองบังคับการ ขึ้นตรงต่อกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
ในปี พ.ศ. 2533 มีการปรับปรุงโครงสร้าง โดยรวมเอาหน่วยงานวิทยาการตำรวจในส่วนกลางและภูมิภาคไว้ด้วยกัน จัดตั้งเป็น “สำนักงานวิทยาการตำรวจ” ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2535 โดยแบ่งส่วนราชการเป็น 7 กองบังคับการ ดังนี้
- กองบังคับการอำนวยการ 4. กองวิทยาการภาค 1 7. กองวิทยาการภาค 4
- กองพิสูจน์หลักฐาน 5. กองวิทยาการภาค 2
- กองทะเบียนประวัติอาชญากร 6. กองวิทยาการภาค 3
สำนักงานวิทยาการตำรวจ ได้รับการปรับปรุงหน่วยงานใหม่อีกครั้งหนึ่งเพื่อรองรับวิทยาการที่ก้าวหน้ามากขึ้น โดยเปลี่ยนชื่อจาก สำนักงานวิทยาการตำรวจ เป็น สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ ในช่วงแรก ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2548 โดยยังคงการแบ่งส่วนราชการภายในกองบัญชาการไว้เช่นเดิม จนกระทั่งวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552 สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ ตามพระราชกฤษฎีการแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และแบ่งส่วนราชการภายในกองบัญชาการในส่วนกลางดังต่อไปนี้ - กองบังคับการอำนวยการ 9. ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 6
- กองพิสูจน์หลักฐานกลาง 10. ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 7
- กองทะเบียนประวัติอาชญากร 11. ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 8
- ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 1 12. ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 9
- ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 2 13. ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 10
- ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 3 14. สถาบันฝึกอบรมและวิจัยนิติวิทยาศาสตร์
- ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 15. กลุ่มงานพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล
- ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 5 16. กลุ่มงานศูนย์ข้อมูลวัตถุระเบิด
เนื่องจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ออกพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 ให้ไว้ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2552 สพฐ.ตร. จึงกำหนดให้วันที่ 1 กรกฎาคม เป็นวันสถาปนา สพฐ.ตร.
ภารกิจ หน้าที่ของ สพฐ.ตร.
๑. เป็นฝ่ายอำนวยการด้านยุทธศาสตร์ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติในการวางแผน ควบคุม ตรวจสอบให้คำแนะนำและเสนอแนะการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจและหน่วยงาน ในสังกัด
๒. ดำเนินการเกี่ยวกับการพิสูจน์หลักฐานตำรวจ วิทยาการตำรวจ การตรวจสถานที่เกิดเหตุ การถ่ายรูปการทะเบียนประวัติอาชญากร การจัดเก็บสารบบลายพิมพ์นิ้วมือ และการตรวจสอบประวัติในการกระทำความผิดของผู้ต้องหา และบุคคลทั่วราชอาณาจักร
เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานสืบสวนสอบสวนของหน่วยงานอื่น
๓. ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์ของบุคคล การส่งกลับในกรณีเหตุวินาศภัย หรือเหตุพิเศษอื่น
๔. ดำเนินงานเกี่ยวกับงานฐานข้อมูลวัตถุระเบิด รวมทั้งสนับสนุนด้านวิชาการ การตรวจพิสูจน์ วิเคราะห์ เก็บกู้ และทำลายวัตถุระเบิด เฉพาะกรณีที่มีลักษณะพิเศษ
๕. ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมงานด้านพิสูจน์หลักฐาน และงานด้านวิทยาการตำรวจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
๖. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานพิสูจน์หลักฐานและงานวิทยาการทั้งในและต่างประเทศ
๗. ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน อื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สพฐ.ตร. เป็นผู้อยู่เบื้องหลังในการหาตัวผู้กระทำความผิด โดยใช้ความรู้ความสามารถ
เฉพาะด้าน จนทำให้สามารถปิดหลายๆ คดี รวมถึงคดีสำคัญๆ ได้ไม่ว่าจะมีความยาก ซับซ้อน เพียงใด เช่น คดี ปล้นร้านทอง
จว.ลพบุรี เป็นอีกหนึ่งคดีที่สะเทือนขวัญ ทำให้ประชาชนหวาดกลัว แต่ด้วยความเชี่ยวชาญด้านการตรวจพิสูจน์หลักฐาน
จึงสามารถนำหลักฐานมาตรวจพิสูจน์ จนสามารถขยายผลจับกุมตัวคนร้ายได้ในที่สุด นอกจากนี้ยังมีคดี เกม รถไฟ คดีแพรวา9ศพ คดีลัลลาเบล คดีวางระเบิดศาลพระพรหม และคดีวางระเบิดทั่วกรุง
วิสัยทัศน์ “เป็นหน่วยงานด้านพิสูจน์หลักฐาน นิติวิทยาศาสตร์
และทะเบียนประวัติอาชญากรที่มีมาตรฐานสากลของกระบวนการยุติธรรม”