ด้วยคณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบหมายให้ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ(ตร.) เป็นเจ้าภาพในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยการกําหนดตัวชี้วัด ตามดัชนี WORLD INTERNAL SECURITY and POLICE INDEX : WISPI ซึ่งได้กําหนดเป้าหมายใน เชิงคุณภาพเอาไว้ คือ ความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมของประชาชนในพื้นที่ ต้องไม่เกินร้อยละ 40 และความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการทํางานของตํารวจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 การขับเคลื่อนตัวชี้วัด ตามดัชนี WISPI นั้น จะส่งผลต่อการจัดลําดับตํารวจโลก ซึ่งตามแผนยุทธศาสตร์ชาติได้กําหนด เป้าหมายเอาไว้ว่า ประเทศไทยจะต้องผ่านเกณฑ์ ลําดับไม่เกินที่ 55 ของโลก
เพื่อเป็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในเรื่องดังกล่าว พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. จึงมอบหมายให้ พล.ต.อ.มนู เมฆหมอก รอง ผบ.ตร. ในฐานะหัวหน้าคณะทํางานขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตร. โดยมี พล.ต.อ.ปิยะ อุทาโย รอง ผบ.ตร. พล.ต.ท.ไกรบุญ ทรวดทรง ผู้ช่วย ผบ.ตร. และ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ที่ปรึกษา (สบ9) เป็นรองหัวหน้าคณะทํางาน ทําการสํารวจความหวาดกลัวภัยอาชญากรรม และ ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการทํางานของตํารวจ ตามตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ชาติ ดัชนี WISPI หรือ พีเพิลโพล(PEOPLE POLL) ขึ้น
พล.ต.ต.ยิ่งยศ เทพจำนงค์ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า พีเพิลโพลได้เริ่มทําการสํารวจความคิดเห็นของประชาชนในรูปแบบ Google form ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา โดยประชาชนสามารถสแกน QR Code แบบสอบถามแล้วกรอกข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะบันทึกและแสดงผลแบบเรียลไทม์
หัวข้อแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 4 ด้าน 22 ข้อ ประกอบด้วย
1.ข้อมูลส่วนตัวของผู้กรอก
2.ข้อมูลด้านความหวาดกลัวภัยอาชญากรรม
3.ข้อมูลด้านความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการทํางานของตํารวจ
4.ข้อมูลด้านความพึงพอใจของประชาชนผู้มาติดต่อราชการบนสถานีตํารวจ
โดยให้ทุกสถานีตํารวจทั่วประเทศ ดําเนินการสํารวจเป็นประจําทุกเดือนๆ ละ 1 ครั้ง และให้ทุกสถานีตํารวจขอความร่วมมือประชาชนกรอกแบบสอบถาม จํานวนสถานีละ 100 คนต่อเดือน ส่งให้ สยศ.ตร. วิเคราะห์ แล้วรายงานผลให้ ผบ.ตร. ทราบ
โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ประโยชน์ที่จะได้รับในการดําเนินการ พีเพิลโพล มีดังนี้ 1.ในระดับสถานีตํารวจ จะเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมในพื้นที่ เพราะผลการสํารวจจะทําให้หัวหน้าสถานีตํารวจทราบว่า ประชาชนมีความหวาดกลัวภัยอาชญากรรม หรือไม่ อย่างไร และมีความเชื่อมั่นในการทํางาน และความพึงพอใจในการทํางานของข้าราชการ ตํารวจในสังกัดหรือไม่ อย่างไร
2.ในระดับ กองบัญชาการ/กองบังคับการ ทําให้ผู้บังคับบัญชาในระดับพื้นที่มีข้อมูลในการ บริหาร และติดตามผลการดําเนินงานของหัวหน้าสถานีตํารวจในปกครอง
3.ในระดับ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ทําให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัด ดัชนี WISPI