ตร.เผยปราบปรามและสนับสนุนการแก้ปัญหา COVID-19

วันที่ 11 มี.ค.63 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ท.ดร.อุทาโย ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ /โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยถึงสรุปผลการปราบปรามและสนับสนุนการแก้ปัญหา COVID-19 ว่าตามที่ขณะนี้ได้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสร้างความเสียหายต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศ จากสถานการณ์ดังกล่าวอาจเป็นช่องทางให้บุคคล กลุ่มบุคคล ผู้ประกอบการบางราย รวมถึงมิจฉาชีพอาศัยโอกาสเอารัดเอาเปรียบแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ สร้างความเดือดร้อน หรือสร้างความวุ่นวาย ตื่นตระหนกให้แก่ประชาชนและสังคมได้รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จึงได้สั่งการเร่งด่วนให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการอย่างเฉียบขาดเพื่อป้องกันปราบปรามและร่วมแก้ไขบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ภายใต้การนำของ พล.ต.อ. จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ห่วงใยพี่น้องประชาชนรวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้สั่งการให้มีการติดตามสถานการณ์โดยใกล้ชิดรวมทั้งกำหนดมาตรการสำคัญเร่งด่วนให้ทุกหน่วยร่วมปฏิบัติ โดยมีผลการปฏิบัติที่สำคัญดังนี้

มาตรการปราบปรามจับกุมผู้กระทำผิด

  1. การจับกุมผู้ที่จำหน่ายหน้ากากอนามัยโดยผิดกฎหมาย มีการจับกุมผู้ที่ลักลอบจำหน่ายหน้ากากอนามัยเกินราคาทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จับกุมจำนวนทั้งสิ้น 0 รายผู้ต้องหา 73 คน ของกลางหน้ากากอนามัย จำนวน 104,271 ชื้น คิดเป็นมูลค่ารวม1,290,997 บาท โดยในจำนวนนี้เป็นการจับกุมหนร้าน 61 ราย และจับกุมจากการขายสินค้าทางออนไลน์ 9 รายในความผิดฐาน “จำหน่ายหน้ากากอนามัยซึ่งเป็นสินค้าควบคุมในราคาสูงเกินสมควรหรือทำให้เกิดความปั่นป่วนซึ่งราคาของสินค้า” อันเป็นความผิดตามมาตรา 29 แห่ง พร.บว่าด้วยราคาสินค้และบริการ พ.ศ 2542 ซึ่งมีอัตราโทษ จำคุกไม่เกิน 7ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  2. จับกุมผู้ที่โพสต์ส่งต่อข่าวปลอม หรือ Fake Neพ สร้างความตื่นตระหนกให้แก่ประชาชนและสังคมจับกุมผู้ต้องหาจำนวน 6คดี ผู้ต้องหารวม 9 คน ในความผิดฐาน “นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ และเผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลอันเป็นเท็จหรืออาจสร้างความตื่นตระหนุกแก่ประชาชน” อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 ซึ่งมีอัตราโทษ จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับมาตรการป้องกันและสนับสนุนการแก้ไขปัญหา

พล.ต.ท.ดร.อุทาโย ผู้กล่าวฝากประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชนที่สั่งซื้อสินคออนไลน์ โดยขอให้ใช้ความระมัดระวังในการสั่งซื้อสินด้ ซึ่งอาจตรวจสอบ ความน่าเชื่อถือของผู้ขาย ชื่อบัญชีและเลขบัญชีของผู้ขายถูกขึ้นบัญชีที่ต้องระมัดระวังหรือไม่ อย่าเห็นแก่สินค้าราคาถูก ซึ่งอาจไม่ได้คุณภาพ อยสั่งซื้อสินด้ครั้งละปริมาณมากๆ และหากเป็นไปได้ ให้นัดรับสินค้าจากผู้ขายโดยตรง อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มีการซื้อสินค้าออนไลน์แล้วไม่ด้รับสินค้า ขอให้ผู้ซื้อเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อซื้อขาย เช่น ภาพเว็บไซต์ เพจ หรือหน้าที่ประกาศขายสินค้า ข้อความสนทนาระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย รายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ขาย เช่นชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล์ เลขบัญชีธนาคารของผู้ขาย และหลักฐานการโอนเงินชำระ ค่าสินค้า และนำหลักฐานดังกล่วเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน

พล.ต.ท.ดร. ปิยะ กล่าวฝากเตือนไปยังผู้ประกอบการ หากฝ่าฝืนกระทำผิดกฎหมายหรือเอารัดเอาเปรียบประชาชนจะต้องระวางโทษ ดังนี้

กรณีการกักตุน จำหน่ายสินค้าเกินราคา ฉ้อโกง

  1. กักตุนสินค้ควบคุมโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 มาตรา 30 ประกอบมาตรา 41 โทษจำคุกไม่เกิน 7ปี หรือปรับไม่เกิน 14,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  2. จำหน่ายสินค้าและบริการที่ควบคุมเกินราคา เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 มาตรา 39 ประกอบมาตรา 26 วรรคสอง โทษจำคุกไม่เกิน5ปี หรือปรับไม่ 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  3. จำหน่ายสินดด้อยคุณภาพ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 271 โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 60.00 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
  4. การหลอกลวงขายสินค้าซึ่งไม่มีอยู่จริงให้แก่ประชาชน เป็นความผิดฐานฉ้อโกง ตามมาตรา 341 ประมวลกฎหมายอาญา โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 60,00 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากเป็นการฉ้อโกงประชาชนตามมาตรา 343 โทษจำคุกไม่เกิน5ปี หรือปรับไม่กิน 100,00 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แล้วแต่กรณี

กรณีโพสต์หรือส่งต่อข่าวปลอม หรือ Fake News

  1. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยข้อมูลอันเป็เท็จ เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14(2) โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100.000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  2. เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14(5) โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100.000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งนี้ หากประชาชนพบเบาะแสการกระทำผิดดังกล่าวต่างๆ สามารถแจ้งมายัง สถานีตำรวจในพื้นที่ หรือหมายเลขโทรศัพท์สายด่วน 191,1599 สายด่วน สคบ. หมายเลข 1166 และกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หมายเลข 021422555 หรือผ่านทาง แอปพลิเคชั่น Police I lert บ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง.

ที่มา สยามรัฐ