วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม 2567 ที่ หอประชุมชุณหะวัณ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปม รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการนำร่อง การบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดประเภทแอมเฟตามีน ด้วยสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย พร้อมด้วย นายยงยุทธ สวนทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม และ พลตำรวจตรี ชนวีร์ ชมาฤกษ์ รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อรุณพร อิฐรัตน์ (หัวหน้าโครงการวิจัย) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และรองประธานอนุกรรมการศึกษาการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ประเภทแอมเฟตามีนและสารเสพติดที่เกี่ยวข้อง กล่าวรายงาน และมี หลวงตาปพนพัชร์ จิรธัมโม ผู้ก่อตั้ง อโรยคศาล เจ้าอาวาส วัดคำประมง ปัจจุบันตั้งเป็น โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานด้านมะเร็ง สกลนคร , นายจิรวัฒน์ สะสมทรัพย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม (อบจ.นฐ.) , รองศาสตราจารย์ พญ.อัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , รองศาสตราจารย์ ดร.นวลจันทร์ ใจอารีย์ หัวหน้าสถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทย์ศาสตร์ มธ. , นางสาวอาทิตย์ กริมทุม นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ชำนาญการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ , นางสาวพิมพ์ชนก เกตุแก้ว นักวิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ , นายอำเภอสามพราน ,นายอำเภอเมืองนครปฐม , นายอำเภอพุทธมณฑล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครปฐม , รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครปฐม , สสจ.อำเภอ , ผอ.รพ.ศูนย์นครปฐม , หัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานต่างๆในจังหวัดนครปฐม , นายกเทศมนตรี , ผู้บริหารท้องถิ่นฯ กำนัน , ผู้ใหญ่บ้าน , ผู้นำชุมชน อสม.สาธารณสุขชุมชน ร่วมในพิธี ร่วมด้วย พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน ประธานคณะอนุกรรมการศึกษาการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดประเภทแอมเฟตามีนและสารเสพติดที่เกี่ยวข้อง ทำเนียบรัฐบาล (ปาฐกถา สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน และแนวทางโปรแกรมนวัตกรรมการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดด้วยสมุนไพรและแพทย์แผนไทย)
ปัจจุบันปัญหายาเสพติดในประเทศไทยกำลังทวีความรุนแรงและมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นโยบายของรัฐบาลมีแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด รวมทั้งต้องการให้ผู้เสพและผู้ติดยาได้รับการบำบัดฟื้นฟูที่เหมาะสม ตามนโยบาย “ผู้เสพคือผู้ป่วย’”และสามารถกลับไปดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ แต่ก็ยังมีปัญหาต่างๆมากมาย ผู้ติดยาก็กลับมาติดซ้ำ ดังนั้นจึงเกิดโครงการ นครพนมโมเดล เกิดขึ้นโดยการนำยาไทยสมุนไพรไทย และการบำบัดทางแพทย์แผนไทยเต็มรูปแบบมาใช้ เพื่อการล้างพิษยาเสพติดให้ออกจากร่างกายทุกระบบคือ ทางอุจจาระ ทางปัสสาวะ ทางผิวหนังและทางเหงื่อ พร้อมให้การลดอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น การปวดเมื่อย นอนไม่หลับ อการลงแดง บำรุงร่างกายด้วยอาหารและยาจากสมุนไพร การออกกำลังกาย พร้อมกับสอนผู้ป่วยให้เรียนรู้สภาวะจิตของตัวเอง คือ การรู้จักตัวตน การเห็นคุณค่าของตัวตน และบำบัดจิตใจด้วยสมาธิ การสวดมนต์ การทำให้จิตมีสมาธิ มีความสุข เช่นการใช้ดนตรี ศิลปบำบัด เป็นต้นจากการจัดโปรแกรม “นวัตกรรมสุขภาพ” คลินิกอบอุ่น 3 จังหวัด ได้แก่ นครพนม มุกดาหารและหนองบัวลำภู พบว่า สามารถลดการติดยาเสพติดเมตแอมเฟตีนและแอมเฟตามีนลงได้ทั้งปัสสาวะและในเลือด ด้วยหลักการล้างพิษด้วยสมุนไพร และยาไทย ในการล้างยาทางปัสสาวะ ทางอุจาระ ทำรอบตัว คือล้างทางรูขุมขน กอร์ปกับการใช้อาหารสมุนไพร การออกกำลังกาย และการใช้จิตบำบัด แต่การอบรมทั้งสามครั้งยังไม่สามารถทำได้เต็มรูปแบบ เพราะเป็นทุนจากภาคประชาชน ดังนั้นในการศึกษาโครงการนำร่องฯ ครั้งนี้ ได้ปรับข้อบกพร่องต่าง ๆ จากครั้งก่อนๆ อีกหลายกระบวนการ เพื่อให้โปรแกรมนี้มีประสิทธิผลในเชิงประจักษ์ มีความสมบูรณ์ตอบโจทย์ให้ประเทศ และสามารถนำไปใช้ได้จริงในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาวิจัยให้สมบูรณ์ในการติดตามระยะยาว ตามหลักสากลยอมรับ
ดังนั้น โครงการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยในการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดประเภทแอมเฟตามีนด้วยสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย โดยเปรียบเทียบผลตรวจทางห้องปฏิบัติการก่อนและหลังการเข้ารับการบำบัด
2) เพื่อเปรียบเทียบปริมาณแอมเฟตามีนในเลือด ปัสสาวะ และเส้นผม ของผู้ป่วยยาเสพติดประเภทแอมเฟตามีนก่อนและหลังเข้ารับการบำบัดด้วยสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย
3) เพื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนความเข้มแข็งทางใจ ความหวังและการมองโลกในแง่ดีความตั้งใจเลิกเสพยาสพติด และคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยยาสพติดประเภทแอมเฟตามีนก่อนและหลังเข้ารับการบำบัดด้วยสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย
เพื่อติดตามการติดซ้ำของผู้ป่วยยาเสพติดประเภทแอมเฟตามีน หลังเข้าร่วมการบำบัดด้วยการตรวจปีสสาวะและการตรวจเส้นผม จัดทำคู่มือบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดประเภทแอมเฟตามีนด้วยสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยผู้เข้าร่วมการบำบัดในครั้งนี้ คือ ผู้ป่วยยาเสพติดประเภทแอมเฟตามีนในพื้นที่จังหวัดนครปฐม จำนวนเกือบ 30 คน ที่สมัครใจจะเข้ารับการบำบัดรักษาในโครงการเป็นเวลา 10 วัน และการจัดโครงการในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆในพื้นที่ในการอำนวยความสะดวก อย่างเต็มที่