ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.อ.ไกรบุญ ทรวดทรง จตช./ ผอ.ศปนม.ตร., พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.พฤทธิพงศ์ นุชนารถ ผบก.รน., พล.ต.ต.มนตรี เทศขัน ผบก.ป., พล.ต.ต.พุฒิเดช บุญกระพือ ผบก.ปอศ., พล.ต.ต.อธิป พงษ์ศิวาภัย ผบก.ปอท., พ.ต.อ.เอนก เจาสุภาพ รอง.ผบก.ป., พ.ต.อ.พรศักดิ์ เลารุจิราลัย รอง.ผบก.ป., พ.ต.อ.วิวัฒน์ จิตโสภากุล ผกก.2 บก.ป., พ.ต.อ.อินทรัตน์ ปัญญา ผกก.5 บก.รน.
กรมศุลกากร นายอาณาจักร เลิศรัตนสิน หัวหน้าฝ่ายสืบสวนปราบปราม 2 กองสืบสวนและปรามปราม กรมศุลกากร
กรมสรรพสามิตร นายพยุง บุญสมสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม, นายละนอง แก้วศรีช่วง ผู้อำนวยการสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 2
นายวิโรจน์รัตน์ แจ่มวรรณา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการตรวจสอบสรรพสามิต
นายอิสรา สถิตยุทธการ หัวหน้าฝ่ายป้องกันและปราบปราม 3
นายอาทิตย์ บุญชัย หัวหน้าฝ่ายป้องกันและปราบปราม สำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 2
กรมเจ้าท่า นายเอกราช คันธโร ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาพัทยา, นายเจนณรงค์ บำรุงจิตต์ เจ้า พนักงานตรวจเรือชำนาญการ และนางสาวพีรพร เอนจินทะ นักวิชาการขนส่งชำนาญการ สำนักงานเจ้าท่าสาขา พัทยา
กองทัพเรือภาค 1 พล.ร.ท.สุระศักดิ์ สิงขรวัฒน์ ผบ.ทรภ.1, พล.ร.ต.วรพาท รัชตะสังข์ รอง ผบ.ทรภ.1, พล.ร.ต.รังสรรค์ บัวเผือก เสธ.ทรภ.1, น.อ.อโศก ศรีสวัสดิ์ รอง เสธ.ทรภ.1, น.อ.ประภุตว์ ม่วงมิ่งสุข ผอ.ขว.บก.ทรภ.1, น.อ.วุฒิชัย สัทธาธรรมรักษ์ รอง ผอ.ขว.บก.ทรภ.1, น.ท.ป่าสัก ไชยเนตร หน.แผน ขว.บก.ทรภ.1, น.ท.สุปรีด์ ตันติตระกูล หน.ปฏิบัติการข่าว ขว.บก.ทรภ.1
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พล.ร.ต.วิฉณุ ถูปาอ่าง รอง ผอ.ศรชล.ภาค1, พล.ร.ต.ไพศาล วงค์เมฆผอ.สน.ฝอ.ศรชล.ภาค 1 , น.อ.วินวัตร หุตะเจริญ ผอ.กมส.สน.ฝอ.ศรชล.ภาค 1, น.อ.ประยงค์ พรมสุวรรณ์ หน.กลุ่มการคดี กมส.สน.ฝอ.ศรชล.ภาค 1, น.ท.ยอดอาวุธ มีชูพล หน.ชุดสอบสวน สน.ฝอ.ศรชล.ภาค 1
เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม นำโดย พ.ต.อ.วรเอก เนตินิยม ผกก. ประจำ บก.รน., พ.ต.ท.นฤทธิ์ ผูกจิตร รอง ผกก.2 บก.ป., พ.ต.ท.สิทธิพร มีอาษา รอง ผกก.2 บก.ป., พ.ต.ท.ขจร สมรูป สว.ส.รน.5 กก.5 บก.รน., พ.ต.ต.วรัท เสริมสุจริต สว.กก.2 บก.ป., เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.รน. และ กก.2 บก.ป.
ร่วมกันตรวจยึดและจับกุมเรือไทย จำนวน 5 ลำ พร้อมลูกเรือ 28 คน ดังนี้
1. เรือ เจ.พี. พร้อมน้ำมันเถื่อนประมาณ 80,000 ลิตร พร้อมลูกเรือ 7 คน
2. เรือ ช.โชคบุญชู 91 พร้อมลูกเรือ 4 คน
3. เรือกำไลเงิน (กำไลเหล็ก) พร้อมลูกเรือ 6 คน
4. เรือซีฮอต พร้อมน้ำมันเถื่อนประมาณ 150,000 ลิตร พร้อมลูกเรือ 6 คน
5. เรือดาวรุ่ง พร้อมน้ำมันเถื่อนประมาณ 100,000 ลิตร พร้อมลูกเรือ 5 คน
สถานที่จับกุม พื้นที่ทะเลอ่าวไทย
พฤติการณ์ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โดย กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) และ กองบังคับการตำรวจน้ำ(บก.รน.) ได้รับแจ้งการข่าวจากสายลับว่ามีกลุ่มเครือข่ายเรือสัญชาติไทยลักลอบขนน้ำมันเถื่อนเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยผิดกฎหมายบริเวณกลางอ่าวไทย
ต่อมา ศูนย์ปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปนม.ตร.) โดย พล.ต.อ.ไกรบุญ ทรวดทรง จตช./ ผอ.ศปนม.ตร. ได้ทราบและเห็นถึงปัญหาดังกล่าวและเพื่อปราบปรามการลักลอบกระทำความผิดที่ส่งผลให้ภาครัฐสูญเสียประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีน้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน จึงได้สั่งการให้กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่สืบสวนหาข่าว แสวงหาพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีกับกลุ่มเครือข่ายดังกล่าว
กระทั่งวันที่ 17 มี.ค.67 เวลาประมาณ 03.00 น. จึงได้เริ่มปฏิบัติการ โดยใช้เรือตรวจการณ์1301 (เรือชัยจินดา) พร้อมกำลังพลตำรวจน้ำและ เจ้าหน้าที่กองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปราม จำนวน 40 นาย ออกจากท่าเรือ สถานีตำรวจน้ำ 3 กองกำกับการ 5 (สัตหีบ) เพื่อตรวจสอบพื้นที่บริเวณกลางอ่าวไทย ต่อมาวันเดียวกันนั้น เวลาประมาณ 09.00 น. ได้ตรวจพบเรือ เจ.พี. สัญชาติไทย พร้อมน้ำมันเถื่อนประมาณ 80,000 ลิตร พร้อมลูกเรือ 7 คน ขณะกำลังขนถ่ายน้ำมันเถื่อนให้กับเรือ ช.โชคบุญชู 91 พร้อมลูกเรือ 4 คน และ เรือกำไลเงิน (เหล็ก) พร้อมลูกเรือ 6 คน โดยหากเรือลำดังกล่าวได้รับน้ำมันเถื่อนแล้ว จะทำการขนส่งไปเทียบที่ท่าเรือไม่ทราบชื่อ บริเวณ ต.บางตะบูน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี เพื่อขนถ่ายต่อไปยังรถบรรทุกน้ำมันต่อไป ต่อมาเวลาประมาณ 15.00 น. เรือตรวจการณ์ 1301 (เรือชัยจินดา) ได้ตรวจพบเรือ Seahorse สัญชาติไทย หรือ กำไลเงิน พร้อมน้ำมันเถื่อนประมาณ 150,000 ลิตร พร้อมลูกเรือ 6 คน และ เรือดาวรุ่ง สัญชาติไทย พร้อมน้ำมันเถื่อนประมาณ 100,000 ลิตร พร้อมลูกเรือ 6 คน (รวมทั้งสิ้น เรือ 5 ลำ, ลูกเรือ 28 คน และ น้ำมันเถื่อนประมาณ 330,000 ลิตร คิดเป็นมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท)
กระทั่งวันที่ 19 มี.ค.67 เวลาประมาณ 08.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้นำเรือทั้ง 5 ลำ พร้อมตัวลูกเรือทั้งหมดเข้าเทียบท่า ณ ท่าเรือ สถานีตำรวจน้ำสัตหีบ จากการตรวจสอบเบื้องต้นโดยเจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิต พบว่าน้ำมันเถื่อนดังกล่าว เป็นน้ำมันที่มิได้มีไว้ใช้ในราชอาณาจักร และจึงได้แจ้งข้อกล่าวหา “ร่วมกันพยายามลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งน้ำมันที่มิได้ผ่านพิธีการศุลกากร” ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 และนำตัวผู้ต้องหาและของกลางทั้งหมดส่งพนักงานสอบสวน กองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
ในท้ายที่สุดนี้ขอฝากเตือนถึงชาวประมงและผู้ประกอบการ ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย เนื่องจากการลักลอบนำเข้าน้ำมันเถื่อนนี่ไม่ได้เสียภาษีอากร จะทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้จากจัดเก็บภาษีหลายหมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งรายได้จากภาษีดังกล่าวจะนำกลับคืนสังคมในรูปของบริการสาธารณะ สาธารณูปโภคที่ทุกคนจะมีส่วนได้รับประโยชน์จากเงินภาษีดังกล่าว รวมถึงฝากเตือนไปยังพี่น้องประชาชนที่ใช้น้ำมันเถื่อนที่ไม่ได้เสียภาษีอากร เนื่องจากการใช้น้ำมันเถื่อน อาจทำให้ได้น้ำมันที่ไม่มีคุณภาพเพียงพอ ส่งผลเสียต่อเครื่องยนต์ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ทั้งนี้หากประชาชนทั่วไปมีเบาะแสเกี่ยวกับการลักลอบจำหน่ายน้ำมันเถื่อน สามารถแจ้งเบาะแสมาได้โดยตรงที่กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางได้ทุกช่องทาง สอบถามคำให้การผู้ต้องหาเบื้องต้น อยู่ระหว่างการสอบสวนเพื่อขยายผลต่อไป