ฝ่ายกิจการตำรวจและศุลกากรของกลุ่มประเทศนอร์ดิก ขอเข้าพบและหารือ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล เพื่อ หารือในเรื่อง “ภาพรวมของการค้ามนุษย์ในประเทศไทย” ทั้งในแง่ของการสืบสวนสอบสวนการดำเนินคดี การคัดแยกผู้เสียหาย
อังคารที่ 16 พฤษภาคม 2566 ที่ห้องประชุมศรียานนท์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง สำนักงานตำรวจแห่ง ชาติ พร้อมด้วยนายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส รองปลัดกระทรวงแรงงาน, น.ส.เสฏฐา เธียรพิรากุล อัยการประจำ สำนักงานอัยการสูงสุด, น.ส.มนชยา ปรีชา ผู้อำนวยการกลุ่มเลขานุการคณะกรรมการ กองต่อต้านการค้ามนุษย์ ผู้แทนปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์, นายพงศ์ธร ศุภการผู้แทนผู้อำนวยการศูนย์บัญชาการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน, นายนฤชัย นินนาท รอง อธิบดี กรมการกงสุล กับคณะ นายพืชภาพ มงคลนาวิน รองอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กับคณะ รศ.ดร.ธนพร ศรียากูล รอง ประธานคณะทำงานบังคับใช้กฎหมายเพื่อต่อต้าน IUU Fishing นางสาวณัฐกานต์ โนรี ผู้จัดการโครงการสปริง มูลนิธิการศึกษา เพื่อชีวิตและสังคม และคณะ NGO’s ได้ร่วมให้การต้อนรับ Ms.Janna Davidson National Rapporteur และ คณะฝ่ายกิจการ เจเตะคุณากรอกประเทศนอก และร่วมกันได้มาเปลี่ยน ความรู้เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ใน ประเทศไทย และแนวทางการสืบสวน สอบสวน การดำเนินคดี และการคัดแยกผู้เสียหาย พร้อมทั้งพูดคุยถึงแนวทางการร่วมมือกัน ในอนาคตระหว่างประเทศไทยและประเทศสวีเดนและกลุ่มประเทศนอร์ดิก
พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล กล่าวว่า ประเทศไทยมีความตั้งใจจริงในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ โดยมุ่งเน้นการยึดเหยื่อเป็น ศูนย์กลาง และยังทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคประชาสังคมอย่าง NGOs หลายส่วน จนสามารถยกระดับการค้า มนุษย์ จาก Tier2 Watchlist เป็น Tier2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปราบปรามการล่วงละเมิดทางเพศเด็กทางอินเทอร์เน็ต นั้นประเทศไทยได้มีการจับกุมที่สูงมาก นอกจากนี้ การหลอกลวงคนไทยไปทำงานเป็นแก๊งค์คอลเซนเตอร์ในประเทศเพื่อนบ้าน นั้นได้ปราบปรามอย่างต่อเนื่องจนไม่พบใน ประเทศไทยแล้ว แต่ก็พบปัญหาว่าขบวนการเหล่านี้ ได้ไปตั้งฐานอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน และยังขาดการให้ความร่วมมือในการปราบ ปรามอย่างจริงจัง ทางด้าน Ms.Jannia Davidson ผู้เสนอรายงานแห่งชาติ (สวีเดน) ได้กล่าวว่าทางประเทศสวีเดนก็ให้ความสำคัญปัญหาการค้า มนุษย์ เช่นเดียวกับประเทศไทย และขอขอบคุณทางการไทยที่ได้ให้ข้อมูลแลกเปลี่ยนเทคนิคการทำงาน ขณะที่ Mr.Christian Froden นักพัฒนาด้านการปฏิบัติการ หน่วยปฏิบัติการป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์แห่งชาติ ได้กล่าวว่า ประเทศสวีเดน มีปัญหาด้านการที่แรงงานไทยไปเก็บผลไม้ป่า ซึ่งเป็นงานที่หนักมาก ซึ่งทางการของสวีเดนได้ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด นายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส รองปลัดกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวว่า ได้เคยเดินทางไปเยี่ยมแรงงานกลุ่มนี้ที่ประเทศสวีเดน แรงงานส่วน ใหญ่มีสัญญา ซึ่งทางกระทรวงแรงงานจะได้เข้ามาตรวจสอบสัญญาให้ดีขึ้น โดยในการหารือครั้งนี้ ได้เปิดโอกาสให้ต่างฝ่ายได้มีการสอบถาม หารือ แลกเปลี่ยนข้อมูลในประเด็นอื่นๆ เกี่ยวกับการค้ามนุษย์กับ หน่วยงานต่างๆ ซึ่งทั้งประเทศไทยและกลุ่มประเทศนอร์ดิก ต่างได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ จากการหารือในครั้งนี้