“รองชินภัทร” ลงพื้นที่บ้านหนองวัวซอ จ.อุดรธานี ติดตามโครงการชุมชนยั่งยืน แก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจร ตามนโยบาย ผบ.ตร.
วันที่ 21 เมษายน 2566 พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. มอบหมายให้ พล.ต.อ.ชินภัทร สารสิน รอง ผบ.ตร./ ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ผอ.ศอ.ปส.ตร.) พร้อมด้วยพล.ต.ท.คีรีศักดิ์ ตันตินวะชัย ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร. พล.ต.ท.สมนึก น้อยคง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ตร. พล.ต.ต.พรพิทักษ์ รู้ยืนยง รอง ผบช.ปส. พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. พ.ต.อ.นพสิทธิ์ มิตรภักดี รอง ผบก.ปส.1 บช.ปส. พ.ต.อ.อาทร ชิ้นทอง รอง ผบก.ปส.3 บช.ปส. พร้อมด้วย พ.ท.พุดสวาด สูนทะลา รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อตรวจตราและควบคุมยาเสพติด กับคณะหน่วยปราบปรามยาเสพติดของ สปป.ลาว และนายคณิศร ภาพีรนนท์ ทูต ปปส.ประจำ สปป.ลาว มาศึกษาดูงานโครงการฯ
ตรวจติดตาม การดำเนินการ โครงการชุมชนยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจร ตามยุทธศาสตร์ชาติ สภ.หนองวัวซอ ภ.จว.อุดรธานี เพื่อเป็นแบบในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ของทั้ง 2 ประเทศ ณ วัดโนนสว่าง อ.หนองวัวซอ จว.อุดรธานี มีรายละเอียดดังนี้
1. สภ.หนองวัวซอ ได้แสวงหาความร่วมมือกับ พระครูพิพัฒน์วิทยาคม เจ้าอาวาสวัดโนนสว่าง ในการดำเนินโครงการชุมชนยั่งยืนฯ โดยในขั้นตอน บำบัด ฟื้นฟู ใช้รูปแบบ และกระบวนการเดียวกับ โครงการ บำบัดแก้ไข ฟื้นฟู เด็กและเยาวชน ในศูนย์ฝึกและ อบรมเด็กและเยาวชน เขต 4 ซึ่งทางวัดโนนสว่างเป็น ผู้ดำเนินโครงการ และเป็นที่ยอมรับว่า เป็นการ บำบัด แก้ไข ฟื้นฟู ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง โดยมีรูปแบบดังนี้
1.1 การดูแลความเป็นอยู่ เสมือนคนในครอบครัว ให้ความรัก ความเมตตา พักอาศัยและกินอยู่ร่วมกัน
1.2 การฝึกฝนเด็ก เน้นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ศิลปวัฒนธรรม และดนตรี ในการกล่อมเกลาจิตใจ
1.3 การดูแล ช่วยเหลือ ด้านการศึกษา , การฝึกอาชีพ ทำกลอง, ตีกลอง และการแสดง มีรายได้เป็นเงินขวัญถุง
1.4 การติดตามประเมินผล ต่อเนื่อง 5 ปี เด็กและเยาวชน กลับไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ร้อยละ 1 ถือได้ว่า ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง
2. สภ.ฯ ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ประกอบด้วย วัดโนนสว่าง, นายอำเภอโนนสว่าง พร้อมฝ่ายปกครอง, จนท.ตร. ชุดปฏิบัติการชุมชนยั่งยืน ของ สภ., จนท.สาธารณสุข, พัฒนาชุมชน, อสม., กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน ,หัวหน้าคุ้ม เข้าร่วมทำ MOU บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การดำเนินโครงการชุมชนยั่งยืนฯ ในชุมชนเป้าหมาย
3. ศอ.ปส.ตร. ได้กำชับการลงพื้นที่ ดำเนินโครงการ ชุมชนยั่งยืนฯ ในระยะเตรียมการ และปฏิบัติการ ห้วง เม.ย.- พ.ค. 2566 โดยให้ หัวหน้าหน่วย ประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย ที่เกี่ยวข้องร่วมบูรณาการ การดำเนินโครงการฯ ในพื้นที่
4. ได้ให้แนวทางในการปฏิบัติตามโครงการฯ ดังนี้
4.1 การค้นหาผู้เสพในชุมชนเป้าหมาย ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชน ทีมงานเจ้าหน้าที่ต้องสร้างความเชื่อใจให้ชุมชน เป็นการ เข้าไป ค้นหา เพื่อช่วยเหลือ บำบัด แก้ไข ฟื้นฟู ไม่จับกุมดำเนินคดี
4.2 รูปแบบการบำบัด เป็นการบำบัด แก้ไข และติดตามในชุมชน โดยผู้นำชุมชน และครอบครัว เป็นแกนนำหลัก ส่วน เจ้าหน้าที่รัฐเป็นฝ่ายสนับสนุน ช่วยเหลือ ติดตาม แตกต่างจากเดิม การนำผู้เสพ ไปรวมตัว เข้าค่ายบำบัด จะไปสร้างเครือข่ายเป็นผู้จำหน่ายในอนาคต
4.3 การดูแล ช่วยเหลือ ด้านการประกอบสัมมาอาชีพ เพื่อให้สามารถดูแลตนเองและครอบครัวได้ ในอนาคต เป็นเรื่องสำคัญ ภาครัฐและเอกชน ต้องเข้ามาช่วยเหลือดูแล อย่างจริงจัง และต่อเนื่อง
4.4 ควรให้เด็กและเยาวชน ผู้เข้าร่วมโครงการของวัดโนนสว่าง มาเป็นวิทยากร แนะนำ ผู้เข้าบำบัด ตามโครงการชุมชนยั่งยืนฯ จะสามารถสื่อสารและชี้นำได้ดี เนื่องจากมีประสบการณ์ตรง
4.5 กำชับการจับกุมผู้จำหน่ายยาเสพติดรายย่อย ในชุมชนเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้การหาซื้อเพื่อเสพได้ยาก และสร้างความพึงพอใจให้กับประชาชนในพื้นที่ ในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
5. จากการตรวจติดตามในครั้งนี้ พบว่า ทุกภาคส่วนมีความเข้มแข็ง มุ่งมั่นตั้งใจ จึงให้กำลังใจกับผู้เข้าร่วมโครงการฯ และจะเข้ามาประเมินผลการดำเนินโครงการในโอกาสต่อไป