ตามนโยบายของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร./ ผอ.ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี PCT ให้ปราบปรามกลุ่มเครือข่ายองค์กรอาชญากรรมที่กระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบซึ่งสร้างความเดือนร้อนให้กับประชาชนผู้สุจริตจำนวนมาก. จึงสั่งการให้ พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. / หน.ชุด PCT5 นำกำลังสืบสวนแกะรอย น.ส.วันเพ็ญ โคตรทะแก หรือ กวินา กันยากรสกุล หลังก่อเหตุฉ้อโกงประชาชนด้วยการหลอกลวง “ขายทอง” จนถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจออกหมายจับไว้กว่า 26 หมายจับ ล่าสุดได้รับประสานงานพบหมายจับศาลอีกกว่า 35 หมายจับ รวม 61 หมายจับ พบเงินหมุนเวียนในบัญชีกว่า 360 ล้านบาท เหยื่อผู้เสียหายกว่า 200 รายทั่วประเทศ ความเสียหายไม่ต่ำกว่า 37 ล้านบาท หลังจากหายตัวไปชนิดที่เรียกได้ว่า “ไร้เงา” มาเป็นเวลากว่า 2 ปี ล่าสุดเจ้าหน้าที่ชุด PCT5 ร่วมกับ สืบนครบาล แกะรอยกว่า 1 ปีจนพบเบาะแส “หนังควาย” จนพบแหล่งกบดานเป็นเซฟเฮ้าส์ลับ ในชนบทใกล้เขาใหญ่ ในพื้นที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ก่อนเข้าทำการจับกุมตัว
เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 เวลาประมาณ 16.15 น. พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. , พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. / หน.PCT ชุดที่ 5 , พ.ต.อ.วรพจน์ รุ่งกระจ่าง รอง ผบก.สส.บช.น. / รอง หน. PCT ชุดที่ 5 , พ.ต.อ.จักราวุธ คล้ายนิล ผกก.วิเคราะห์ข่าวฯ บก.สส.บช.น. , พ.ต.อ.สิทธิศักดิ์ นาคามาตย์ ผกก.กก.สส.บก.น.4 , พ.ต.อ.ณรงค์ฤทธิ์ ทองแพ พ.ต.อ.พัชรดนัย การินทร์ ผกก.(สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน บก.สส.บช.น. , พ.ต.ท.มาโนชย์ ทองแก้ว , พ.ต.ต.คณิตนนท์ ถนอมศรี , พ.ต.ต.ชัยวัฒน์ จงเจริญ , พ.ต.ต.วรุตม์ คำหล้า , พ.ต.ต.ภัสสกรณ์ เฉลียวบุญ , พ.ต.ต.ธัญพีรสิษฐ์ จุลพิภพ ร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ ศปอส.ตร. (PCT) ชุดที่ 5 , ชุดสืบสวนนครบาล (บก.สส.บช.น.) , กก.สส.บก.น.4 นำกำลังสืบสวนติดตามจับกุมตัว น.ส.วันเพ็ญ หรือ กวินา (สงวนนามสกุล) อายุ 34 ปี อยู่บ้านเลขที่ 135/5 ม.18 ต.เขากะลา อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ผู้ต้องหาตามหมายจับ ในข้อหา “ฉ้อโกงประชาชน โดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน” จำนวน 61 หมายจับ ดังนี้
1.หมายจับศาลจังหวัดอุบลราชธานีที่ 191/2564 ลงวันที่ 7 มิ.ย. 64 (สภ.เมืองอุบลราชธานี)
2.หมายจับศาลจังหวัดธัญบุรีที่ 698/2564 ลงวันที่ 5 พ.ย. 64 (สภ.คูคต)
3.หมายจับศาลจังหวัดธัญบุรีที่ 699/2564 ลงวันที่ 5 พ.ย. 64 (สภ.คูคต)
4.หมายจับศาลจังหวัดขอนแก่นที่ 94/2564 ลงวันที่ 24 พ.ค. 64 (สภ.บ้านแฮด)
5.หมายจับศาลจังหวัดระยองที่ 232/2564 ลงวันที่ 8 พ.ย. 64 (สภ.ปลวกแดง)
6.หมายจับศาลจังหวัดระยองที่ 233/2564 ลงวันที่ 8 พ.ย. 64 (สภ.ปลวกแดง)
7.หมายจับศาลจังหวัดระยองที่ 245/2564 ลงวันที่ 19 พ.ย. 64 (สภ.ปลวกแดง)
8.หมายจับศาลจังหวัดระยองที่ 246/2564 ลงวันที่ 19 พ.ย. 64 (สภ.ปลวกแดง)
9.หมายจับศาลจังหวัดระยองที่ 247/2564 ลงวันที่ 19 พ.ย. 64 (สภ.ปลวกแดง)
10.หมายจับศาลจังหวัดระยองที่ 248/2564 ลงวันที่ 19 พ.ย. 64 (สภ.ปลวกแดง)
11.หมายจับศาลจังหวัดระยองที่ 249/2564 ลงวันที่ 19 พ.ย. 64 (สภ.ปลวกแดง)
12.หมายจับศาลจังหวัดมุกดาหารที่ 37/2564 ลงวันที่ 29 เม.ย. 64 (สภ.ป่าไร่)
13.หมายจับศาลจังหวัดธัญบุรีที่ 118/2564 ลงวันที่ 3 มี.ค. 64 (สภ.ลำลูกกา)
14.หมายจับศาลจังหวัดสมุทรปราการที่ 341/2564 ลงวันที่ 21 ก.ค. 64 (สภ.สำโรงเหนือ)
15.หมายจับศาลจังหวัดสระบุรีที่ 76/2564 ลงวันที่ 3 พ.ค. 64 (สภ.หนองแค)
16.หมายจับศาลจังหวัดสระบุรีที่ 77/2564 ลงวันที่ 3 พ.ค. 64 (สภ.หนองแค)
17.หมายจับศาลจังหวัดชลบุรีที่ 457/2564 ลงวันที่ 10 พ.ย. 64 (สภ.หนองขาม)
18.หมายจับศาลจังหวัดพัทยาที่ 211/2564 ลงวันที่ 27 ก.ค. 64 (สภ.ห้วยใหญ่)
19.หมายจับศาลจังหวัดสระบุรีที่ 115/2564 ลงวันที่ 28 มิ.ย. 64 (สภ.วิหารแดง)
20.หมายจับศาลจังหวัดกระบี่ 231/2565 ลงวันที่ 13 มิ.ย. 65 (สภ.เหนือคลอง)
21.หมายจับศาลจังหวัดพัทยาที่ 200/2564 ลงวันที่ 19 ก.ค. 64 (สภ.บ่อวิน)
22.หมายจับศาลจังหวัดหนองบัวลำภูที่ 28/2565 ลงวันที่ 8 ก.พ. 65 (สภ.เมืองหนองบัวลำภู)
23.หมายจับศาลจังหวัดอำนาจเจริญที่ 72/2564 ลงวันที่ 10 ส.ค. 64 (สภ.เมืองอำนาจเจริญ)
24.หมายจับศาลจังหวัดนครปฐมที่ 216/2564 ลงวันที่ 20 ส.ค. 64 (สภ.บางหลวง)
25.หมายจับศาลจังหวัดสุรินทร์ที่ 25/2564 ลงวันที่ 17 มี.ค. 64 (สภ.พนมดงรัก)
26.หมายจับศาลจังหวัดพัทยาที่ 406/2564 ลงวันที่ 30 พ.ย. 64 (สภ.สัตหีบ)
จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบข้อมูลหมายจับของศาลอีกจำนวนกว่า 35 หมายจับ พร้อมทั้งตรวจยึด
1.โทรศัพท์มือถือจำนวน 2 เครื่อง (พบข้อมูลการตั้งวงแชร์อีกหลายวง)
2.สมุดบันทึก จำนวน 1 เล่ม
3.ซองใส่ซิม จำนวน 5 ชิ้น
พฤติการณ์กล่าวคือ สืบเนื่องจากเมื่อปลายปี 2563 ต่อเนื่องมาถึงต้นปี 2564 น.ส.วันเพ็ญ หรือ กวินา ได้มีการไลฟ์สดผ่านทางเฟสบุ๊คโฆษณาเชิญชวนให้ประชาชนร่วมลงทุนในการ “ขายทอง” โดยอ้างว่าจะนำทองมาจากต่างประเทศ โดยสามารถสั่งนำเข้ามาได้ในราคาเพียงบาทละ 3,000-4,000 บาท ซึ่งถูกกว่าท้องตลาดทั่วไปมาก ซึ่งต่อมาได้มีผู้เสียหายจำนวนมากหลงเชื่อและโอนเงินมาร่วมลงทุนเป็นจำนวนมาก
ซึ่ง น.ส.วันเพ็ญฯ มีการส่งทองหรือจ่ายเงินตอบแทนให้กับผู้สั่งซื้อหรือร่วมลงทุนใน 2-3 ครั้งแรก ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือมากขึ้นในกลุ่มผู้ที่เคยร่วมลงทุนเดิมและยัง “ปากต่อปาก” ทำให้ยิ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมการลงทุนจำนวนหน้าใหม่เข้ามาเป็นจำนวนมาก โดยสุดท้ายเหล่าผู้เสียหายต่าง “ทุ่มเงิน” จำนวนมากมาร่วมลงทุนซื้อทองกับ น.ส.วันเพ็ญฯ ซึ่งต่อมาเมื่อได้เงินก้อนใหญ่แล้ว น.ส.วันเพ็ญฯ ได้ “หายตัวไป” อย่างไร้ร่องรอยพร้อมเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 37 ล้านบาท เหยื่อผู้เสียหายกว่า 200 รายทั่วประเทศ ต่างได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก เพราะเงินส่วนใหญ่ของผู้เสียหายได้ทุบหม้อข้าวมาลงทุนกับ น.ส.วันเพ็ญฯ ซึ่งกลุ่มผู้เสียหายได้เข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวนในท้องที่เกิดเหตุทั่วประเทศ ซึ่งต่อมาได้มีสอบสวนจนนำมาสู่การออกหมายจับ และหมายจับของศาล จำนวน 61 หมายจับทั่วประเทศไทย
ซึ่งจากการติดตามของเจ้าหน้าที่พบว่า น.ส.วันเพ็ญฯ ไม่เพียงหายตัวไป แต่จากการตรวจสอบการทำธุรกรรมต่างๆก็ไม่พบความเคลื่อนไหวใดๆอีก เข้าขั้นที่เรียกได้ว่า “ไร้เงา” ซึ่งต่อมาทีมนักวิเคราะห์แผนประทุษกรรมของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ได้วิเคราะห์ข้อมูลจากระบบการรับแจ้งความออนไลน์และข้อมูลแผนประทุษกรรมจากคดีเดิม โดย พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. หรือ หน.PCT ชุดที่ 5 ได้วิเคราะห์ข้อมูลพบ “ร่องรอย” จากแผนประทุษกรรมการช่วงการก่อเหตุที่ผ่านมา ซึ่งพบ “ตัวละคร” สำคัญที่คอยดำเนินการทำธุรกรรมให้กับ น.ส.วันเพ็ญฯ ซึ่งต่อมา พล.ต.ต.ธีรเดชฯ ได้ให้ พ.ต.ท.มาโนชย์ ทองแก้ว สว.กก.2 บก.สส.บช.น. พ.ต.ต.คณิตนนท์ ถนอมศรี สว.กก.1 บก.สส.บช.น. พ.ต.ต.ธัญพีรสิษฐ์ จุลพิภพ สว.กลุ่มงานสอบสวนฯ ชุด PCT 5 นำกำลังแยกกันลงพื้นที่แกะรอยจนกระทั่งสืบทราบว่า น.ส.วันเพ็ญฯ หลบหนีไปกบดาลอยู่ในพื่นที่ จ.สระบุรี โดยมี “ลูกน้อง” คอยเป็นผู้ทำธุรกรรมต่างๆให้เพื่ออำพรางการใช้ชื่อตนเอง ซึ่งแม้จะปกปิดตัวตนอย่างมิดชิด แต่ต่อมาชุด PCT5 ได้พบเบาะแสสำคัญจากร้านอาหารในละแวกพื้นที่กบดาลคือ “หนังควาย” ซึ่งเป็นอาหารที่ น.ส.วันเพ็ญฯ ชอบทาน จนนำมาสู่การสืบทราบว่าที่กบดานของ น.ส.วันเพ็ญฯ ซึ่งเป็น “เซฟเฮ้าส์ลับ” มีรั้วสูงล้อมรอบมิดชิด ภายในชนบทใกล้เขาใหญ่ ซึ่งต่อมาพล.ต.ต.ธีรเดชฯ ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ชุด PCT5 และ สืบสวนนครบาลใช้กำลังเจ้าหน้าที่ “ดักซุ่ม” บริเวณป่าข้างทางใกล้กับเซฟเฮ้าส์ลับดังกล่าว จนกระทั่งได้พบ น.ส.วันเพ็ญฯ เดินออกมาจากรั้วเซฟเฮ้าส์ลับดังกล่าวลักษณะแต่งกายมิดชิด สวมหมวกปิดบังอำพรางไม่ให้ใครจำได้ แต่ไม่รอดสายตาของ พ.ต.ท.มาโนชย์ ทองแก้ว ซึ่งติดตามตัว น.ส.วันเพ็ญฯ มาเป็นเวลากว่า 1 ปี จึงสามารถจดจำลักษณะท่าทางได้แม้จะปิดบังอำพลางไว้แล้วก็ตาม เจ้าหน้าที่จึงได้เข้าทำการจับกุมตัว น.ส.วันเพ็ญฯ ตามหมายจับ โดยเจ้าหน้าที่ได้แสดงหมายจับให้ดูกว่า 26 หมายจับ โดยพบว่า น.ส.วันเพ็ญฯ ยังเป็นบุคคลตามหมายจับของศาลอีกกว่า 35 หมายจับ ซึ่งรวมทั้งสิ้น 61 หมายจับ โดยจับกุมที่บริเวณหน้าบ้านเลขที่ 111 หมู่ 4 ต.ชะอม อ.แก่งคอย จว.สระบุรี โดยระหว่างการขยายผล ได้มีผู้เสียหายจำนวนมากที่เคยถูกหลอกลวงหลายรายเดินทางมาที่ บก.สส.บช.น. ได้ติดตามทวงถามถึงมูลหนี้ที่ได้ถูกโกงไป โดยกลุ่มผู้เสียหายกล่าวกับเจ้าหน้าที่ว่า “ได้ติดตามมาเป็นเวลานานแล้ว และไม่คาดคิดว่าเจ้าหน้าที่จะจับกุมตัวได้เพราะทราบมาว่า น.ส.วันเพ็ญฯ นั้นได้หลบหนีไปอยู่ในป่า ไม่คาดคิดว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะติดตามจับกุมได้” จึงนำตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานสอบสวน สภ.คูคต จังหวัดปทุมธานี ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
ในชั้นจับกุม น.ส.วันเพ็ญ ให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา โดยให้การว่า “ได้เริ่มชักชวนคนใกล้ตัวรวมถึงผู้อื่นให้ร่วมวงแชร์ทางออนไลน์ ผ่านทางเฟสบุ๊คส่วนตัวที่ใช้ชื่อว่า วันเพ็ญ โคตรทะแก ซึ่งไม่เคยมีปัญหาใดๆ จนถึงเมื่อประมาณเดือน ต.ค.2563 ได้เริ่มคิดอยากจะเปิดวงแชร์แบบใหม่ในลักษณะให้ออมทอง โดยได้ทำระบบการลงทุนออมทองไว้คือให้ผู้ลงทุนลงเงินก่อนเป็นจำนวนเงินที่ถูกกว่าราคาทองจริง ในตลาดเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ เป็นระยะเวลา 3 เดือน จากนั้นจะส่งทองจำนวน 1 บาท ไปให้ โดยวิธีการคือ จะสั่งซื้อทองที่ห้างทองสุพรรณ ผ่านช่องทางออนไลน์ในราคาเต็มตามปกติ โดยในช่วงแรกที่เริ่มทำ ในขณะที่ทองคำราคาประมาณ 28,000 บาท ตนก็จะไปประกาศหาผู้ที่ต้องการ ลงทุนออมทอง โดยโฆษณาว่า สามารถออมทองในราคาเพียงแค่ 24,000 บาท โดยออมเป็นระยะเวลา 3 เดือน และจะได้รับทองคำจริงจำนวน 1 บาท ซึ่งสาเหตุที่ในช่วงแรกยังไม่ขาดทุนเพราะยังหาคนที่ อยากลงทุนออมทองต่อเนื่องลงเงินออมเพิ่ม และนำเงินส่วนต่างไปเพิ่มเติมในยอดเงินที่ขาดเพื่อให้สามารถ ซื้อทองคำในราคาเต็มได้และส่งจัดส่งทองคำที่ได้สั่งซื้อมาให้ผู้ลงทุนคนแรกๆ จึงทำให้น่าเชื่อถือว่าลงทุน จำนวนเงินน้อย แต่สามารถซื้อทองจริงได้ ซึ่งในช่วงเวลาที่มีผู้คนสนใจมากที่สุด มีลูกค้าจำนวนประมาณ 100 คน และมีนักลงทุนบางคนที่ร่วมลงทุนหลายครั้ง จนสะสมเป็นยอดออมทองประมาณ 50 บาท และในขณะนั้นมียอดเงินที่มีผู้ลงทุนอยู่ประมาณหลักแสนบาท เนื่องจากต้องหมุนเวียนเงินเพื่อให้ ระบบยังดำเนินต่อไปได้ หลังจากนั้นเมื่อประมาณ ต้นปี 2564 เริ่มเกิดปัญหา เนื่องจากไม่สามารถหาผู้ลงทุนใหม่ๆ มาลงทุนต่อได้ จึงได้เริ่มลดราคาโดยเปิดให้เริ่มออมทองในราคาบาทละ 8,000 บาท จากราคาเต็มประมาณ 30,000 บาท(ในขณะนั้น) เพื่อทำให้เกิดความน่าสนใจ และก็ได้มีผู้มาร่วมลงเงินออมทองจำนวนมาก แต่ก็ยังไม่สามารถหมุนเวียนเงินได้ เพราะต้องนำเงินมาทบยอดไปมา จากลูกค้าหลายคนจนไม่สามารถซื้อทองให้ครบตามจำนวนของผู้ที่ลงทุนได้ จึงได้เริ่มมีผู้เสียหายเข้าแจ้งความดำเนินคดี จากนั้นก็เริ่มย้ายที่อยู่และเปลี่ยนชื่อนามสกุลจริงเพื่อหลบหนี”
พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. กล่าวว่า “วิธีการที่ผู้ต้องหารายนี้ใช้หลอกลวงนั้นมีความน่ากลัว เพราะมีการสร้างความน่าเชื่อถือหลอกเหยื่อให้ตายใจก่อนซึ่งด้วยวิธีการนี้ทำให้จำนวนเงินที่ผู้เสียหายตัดสินใจนำมาลงทุนนั้นจะมีจำนวนที่สูงกว่าการถูกหลอกลวงทั่วๆไป จึงขอเตือนไปยังพี่น้องประชาชนว่า การร่วมลงทุนในโลกออนไลน์นั้นมีความเสี่ยง สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีการระดมปราบปรามผู้กระทำผิดทางออนไลน์อยู่ตลอด ตามนโยบายของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ฉะนั้นผู้ที่ยังทำหรือคิดจะทำขอเตือนว่า มันไม่คุ้มได้คุ้มเสีย เมื่อได้ลงมือก่อเหตุ