ภายใต้การอำนวยการสั่งการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. ได้มอบนโยบายระดมกวาดล้างอาชญากรรมให้กับหน่วยงานในสังกัดดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพนั้น พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ. พ.ต.อ.สำเริง อำพรรทอง รอง ผบก.ปคบ. พ.ต.อ.ธรากร เลิศพรเจริญ รอง ผบก.ฯ รรท.รอง ผบก.ปคบ.พ.ต.อ.สมเกียรติ ตันติกนกพร รอง ผบก.ปคบ.พ.ต.อ.อภิชาติ เรนชนะ ผกก.2 บก.ปคบ.พ.ต.ท.กานต์กนิษฐ์ จงประเสริฐ รอง ผกก.2 บก.ปคบ.พ.ต.ท.ธีรภพ พันธุชาติ รอง ผกก.2 บก.ปคบ.
สั่งการ พ.ต.ต.จำรูญ คำมา สว.กก.2 บก.ปคบ.นำกำลังตำรวจ กก.2 บก.ปคบ.ร่วมกับจนท.สารวัตรเกษตร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร สุรินทร์ ร่วมกันนำ หมายค้นของศาลจังหวัดสุรินทร์ ที่ ค.16/2565 ลงวันที่ 28 ก.พ.65 เข้าตรวจค้น บ้านเลขที่ 219 ม.4 ต.เชื้อเพลิง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ โดยมี นายพินิจ เมืองไทย กำนัน ตำบลเชื้อเพลิง,นายพิษณุ ชมหมื่น ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมเป็นพยานในการตรวจค้น
ผลการตรวจค้นพบ 1.)ผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยว่าเป็นวัตถุอันตรายจำนวนมากทั้งสารป้องกันกำจัดโรคพืช , ผลิตภัณฑ์ยาทาหน้ายางพารา , ผลิตภัณฑ์ดินผสมยาหน้ายาง , ผลิตภัณฑ์สารบำรุงหน้ายางชนิดเข้มข้น , ผลิตภัณฑ์ฮอร์โมนพืชเสริมหน้ายางสำเร็จรูป 2.) ผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยว่าเป็นปุ๋ยเคมี 3.) วัตถุดิบและอุปกรณ์การผลิต
สอบถาม น.ส.สุพิชญา(สงวนนามสกุล) ที่อยู่ภายในบ้านดังกล่าว แจ้งว่าผลิตภัณฑ์สินค้าที่ตรวจพบ เป็นของ นายสุดตา (สงวนนามสกุล) อายุ 52 ปี เจ้าของบ้านมีไว้เพื่อขายให้กับเกษตรกรทั่วไป
เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ตรวจพบจำนวนดังกล่าว เป็นวัตถุอันตราย ซึ่งยากแก่การเคลื่อนย้าย เก็บรักษา เจ้าพนักงานชุดดังกล่าว จึงได้ทำการตรวจยึด อายัดของกลางที่ตรวจพบ
โดยพนักงาน จนท.สารวัตรเกษตร ได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยว่าเป็นวัตถุอันตราย และปุ๋ยเคมี นำส่งตรวจวิเคราะห์ที่ที่สำนักวิจัยและพัฒนาเกษตรเขตที่ 4 อุบลราชธานี กรมวิชาการเกษตร
เจ้าพนักงานตำรวจ กก.2 บก.ปคบ.ได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ตรวจยึดนำส่ง พนักงานสอบสวน กก.2 บก.ปคบ.เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดที่เกี่ยวข้องที่สอบสวนถึงเพื่อจะได้ดำเนินการตาม พรบ.ปุ๋ย พ.ศ.2518 ประกอบด้วย
1.ผลิตปุ๋ยเคมี เพื่อการค้า ขาย โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 12(1) ,57 มีโทษ จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ผลิตปุ๋ยเคมี เพื่อการค้าที่ต้องขึ้นทะเบียนแต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน
ตาม มาตรา 30 (5) ,71 มีโทษ จำคุกตั้งแต่หนึ่งปี ถึงห้า ปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นถึงสองแสนบาท และมีความผิดตาม พรบ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535
3.ผลิตหรือครอบครองวัตถุอันตราย ชนิด 3 โดยไม่รับอนุญาต ตาม มาตรา 18(3) ,23,73 มีโทษ มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
4.ผลิต หรือ ครอบครอง วัตถุอันตรายชนิดที่3 ที่ต้องขึ้นทะเบียนแต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ ตาม 45(4),78 มีโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ต่อไป